รายชื่อบริษัทเอกชนและผู้มีจิตศรัทธา

มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนวัคซีนและการเชื่อมโยงฐานข้อมูลการฉีดวัคซีนให้กับผู้ใช้บริการจากกระทรวงสาธารณสุข และได้รับความร่วมมือจาก กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลในเครือบางปะกอก และหน่วยงานต่างๆ ร่วมเป็นพันธมิตรในการจัดตั้ง รวมถึง มจธ. ยังได้รับการสนับสนุนทั้งเงินบริจาคในการดำเนินการ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ วัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ จากบริษัทเอกชน และผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง

มหาวิทยาลัยขอขอบพระคุณ บริษัทเอกชน และผู้มีจิตศรัทธา ที่สนับสนุน มจธ. เพื่อให้ มจธ. ได้ช่วยประเทศไทย ได้ไปต่อ ดังรายนามดังนี้

โรงพยาบาลในเครือบางปะกอก ในการสนับสนุนแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสนับสนุนทางการแพทย์ประจำหน่วยฯ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือเพื่อส่งต่อกรณีเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ของผู้รับวัคซีน

บริษัท แอร์พลัส แอ๊พพลาย จำกัด ในการมอบตู้ควบคุมอุณหภูมิสำหรับเก็บวัคซีนพร้อม Data logger จำนวน 3 เครื่อง มูลค่า 100,000 บาท และถุงมือยางทางการแพทย์ (Medical Glove) จำนวน 10,000 ชิ้น มูลค่า 80,000 บาท รวมมูลค่า 180,000 บาท

บริษัท แบงเทรดดิ้ง 1992 จำกัด ในการมอบเครื่องวัดความดันแบบสอดแขน จำนวน 5 เครื่องในมูลค่า 300,000 บาท และถุงมือยางทางการแพทย์ (Medical Glove) จำนวน 10,000 ชิ้น มูลค่า 80,000 บาท รวมมูลค่า 380,000 บาท

บริษัท พาราไซแอนติฟิค จำกัด ในการมอบเครื่องวัดความดันแบบสอดแขน จำนวน 3 เครื่องมูลค่า 180,000 บาท และมอบเงินสนับสนุนการจัดทำอุปกรณ์ทางการแพทย์  200,000 บาท รวมมูลค่า 380,000 บาท

บริษัท เอส พี ซี อาร์ที จำกัด บริจาค ถุงมือทางการแพทย์ จำนวน 220 กล่อง จำนวน 11,000 ชิ้น มูลค่า 25,000 บาท และเครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล พร้อมที่กดแอลกอฮอล์ จำนวน 16 เครื่อง ในมูลค่า 35,000 บาท รวมมูลค่า 60,000 บาท

คุณโทมัส/พัชรี​ สมิทธ์​แอนเดอร์เรเกนท์ บริจาครวมมูลค่า 100,000 บาท
กล่องเคลื่อนย้ายวัคซีน ถังทิ้งเข็มและไซริ้งค์ มูลค่า 50,000 บาท
– กล่องเคลื่อนย้ายวัคซีนขนาดใหญ่ ชนิดควบคุมอุณหภูมิ 2-8 องศา จำนวน 2 กล่อง
– กล่องเก็บวัคซีนขนาดเล็ก ชนิดควบคุมอุณหภูมิ จำนวน 20 กล่อง
– ถังทิ้งเข็มและไซริ้งค์ จำนวน 20 อัน
เข็ม และไซริ้งค์ มูลค่า 50,000 บาท
– เข็มขนาด 25×1 นิ้ว จำนวน 10,000 อัน
– เข็มขนาด 18×1 นิ้ว จำนวน 10,000 อัน
– ไซริ้งค์ ขนาด 1 มล. จำนวน 1,000 อัน
– ไซริ้งค์ ขนาด 5 มล. จำนวน 4,000 อัน

บริษัท แพน แปซิฟิก ปริ้นติ้ง จำกัด บริจาคป้ายประชาสัมพันธ์ พร้อมป้าย/สื่อประชาสัมพันธ์ภายในศูนย์บริการวัคซีน มจธ. มูลค่า 300,000 บาท

บริษัท ยูนิค ผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม จำกัด บริจาคเงินสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริการวัคซีน จำนวนเงิน 200,000 บาท

บริษัท ชูไพบูลย์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด บริจาคเงินสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริการวัคซีน จำนวนเงิน 50,000 บาท

คุณธีราพร วีระวงศ์ บริจาคเงินสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริการวัคซีน จำนวนเงิน 50,000 บาท

คุณพิทักษ์ รัชกิจประการ บริจาคเงินสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริการวัคซีน จำนวนเงิน 50,000 บาท

คุณนพฤทธิ์ ภูมิตระกูล บริจาคเงินสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริการวัคซีน จำนวนเงิน 30,000 บาท

รศ.ดร.พรปภัสสร ปริญชาญกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มจธ. บริจาคเงินสมทบศูนย์วัคซีน มจธ. จำนวนเงิน 10,000 บาท

น.ส.ธันย์รดี จิรา ด.ช.ธนัท ทรวงสุรัตนกุล และครอบครัว น.ส.ปนันทร์พร จิรโชตินิธิภัทร์ และครอบครัว น.ส.มานี ตินะกุล และครอบครัว น.ส.นันทภัส กาญจโนภาศ และครอบครัว น.ส.กัชชลา ธนานุวัฒน์วัฒนา และครอบครัว บริจาคน้ำดื่มสำหรับแพทย์และอาสาสมัคร มูลค่า 16,250 บาท เพื่อใช้ในศูนย์ฉีดวัคซิน

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา บริจาคอาหารกลางวัน 100 กล่อง มูลค่า 5,000 บาท เจลแอลกอฮอลล์ 100 ชุด มูลค่า 7,500 บาท ยาดม 100 ชุด มูลค่า 1,000 บาท น้ำดื่ม 9 แพ็ค มูลค่า 300 บาท รวมมูลค่า 13,800 บาท

บริษัท จีคอม โซลูชั่น จำกัด บริจาคถุงมือยางทางการแพทย์ จำนวน 200 กล่อง (10,000 ชิ้น) มูลค่า 72,000 บาท

ฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์ธุรกิจต่างประเทศและพัฒนากระบวนการลูกค้าธุรกิจ (PP) ธนาคารกสิกรไทย โดยมี คุณฐิติมา ศรีชนะ และคุณศุภยา เจริญพันธ์ เป็นผู้แทนส่งมอบคุกกี้ จำนวน 120 กระปุก มูลค่า 6,000 บาท

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สนับสนุนน้ำดื่ม 500 โหล 6,000 ขวด มูลค่า 24,000 บาท

บริษัท ไซติว่า ประเทศไทย จำกัด ( Cytiva Thailand Co. Ltd.) บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์และเครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 4 เครื่อง มูลค่า 130,000 บาท

บริษัท แคมฟิล (ประเทศไทย) จำกัด บริจาคเงินสนับสนุนการจัดตั้งหน่วยฉีดวัคซีน จำนวนเงิน 100,000 บาท

บริษัท เอคแปลนเมนท์ จำกัด บริจาคเงินสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริการวัคซีน จำนวนเงิน 10,000 บาท

บริษัท บีแอนด์ ที เจนเนอรัล จำกัด บริจาคเงินสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริการวัคซีน จำนวนเงิน 50,000 บาท

บริษัท รักษาความปลอดภัย ฟูลฟาซิลิตี้ จำกัด บริจาคเงินสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริการวัคซีน จำนวน 5,000 บาท

ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมสมทบบริจาคเงินสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริการวัคซีน จำนวนเงิน 3,027 บาท

บริษัท พาราไซแอนติฟิค จำกัด บริจาคเครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 4 เครื่อง มูลค่า 61,632 บาท

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา มอบอาหารกลางวัน จำนวน 100 กล่อง มูลค่า 5,000 บาท

คณะกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ มจธ. บริจาคเงินสดสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยฉีดวัคซีนถาวร จำนวน 20,000 บาท

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริจาคเจลแอลกอฮอลล์ล้างมือ จำนวน 20 แกลลอน มูลค่าประมาณ 25,000 บาท

บริษัท ด๊อกเตอร์ บู จำกัด บริจาคถุงมือยาง มูลค่า 10,000 บาท

กองทุนสำหรับสนับสนุนหน่วยให้บริการฉีดวัคซีนกลางของ อว. โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับศิริราชมูลนิธิ มอบเงินสนับสนุนหน่วยให้บริการฉีดวัคซีน มจธ. จำนวนเงิน 120,000 บาท

คุณวิสา แซ่เตีย ที่ปรึกษาสำนักงานอธิการบดี มจธ. บริจาคเงินสมทบศูนย์ฉีดวัคซีน มจธ. จำนวนเงิน 5,000 บาท (ณ วันที่ 10 สิงหาคม 64)

รศ. ดร.กิตติชัย ลวันยานนท์ และ ดร.พัชราภรณ์ ลวันยานนท์ อาจารย์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. มอบข้าวกล่องอาหารกลางวัน ขนม น้ำผลไม้ 150 ชุด มูลค่า 15,200 บาท สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และอาสาสมัคร

รศ. ดร.กิตติชัย ลวันยานนท์ และ ดร.พัชราภรณ์ ลวันยานนท์ บริจาคสมทบอาหารว่างแก่บุคลากรทางการแพทย์และมดอาสา มจธ. อาหารว่าง Curry puff 400 ชิ้น 3,200 บาท และน้ำมะพร้าว Coconut juice 4,600 บาท รวมมูลค่า 7,800 บาท

คุณวิสา แซ่เตีย ที่ปรึกษาสำนักงานอธิการบดี มจธ. บริจาคเงินสมทบศูนย์ฉีดวัคซีน มจธ. จำนวนเงิน 10,000 บาท (ณ วันที่ 14 มกราคม 65)

รวมมูลค่าการบริจาค 2,499,709 บา

ข้อมูล ณ วันที่ 14 มกราคม 65

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับ COVID-19 VACCINE

  • บุคคลกลุ่มใดบ้างที่ควรได้รับวัคซีนโควิด 19
  • เคยมีประวัติติดโควิด 19 สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่
  • สามารถฉีดวัคซีนโควิด 19 ต่างชินด/ยี่ห้อ ได้หรือไม่
  • หากเคยฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้วยังต้องมีการฉีดซ้ำเหมือนวัคซีนไข้หวัดใหญ่
  • ตารางการฉีดวัคซีนโควิด 19

กลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พร.

วิศวฯอุตสาหการ มจธ. แนะทองแดงมีสมบัติทำลายเชื้อโรคได้โดยธรรมชาติ

      อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) แนะทองแดงสามารถทำลายเชื้อโรคได้โดยธรรมชาติหวังช่วยลดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-ไนน์ทีน (Covid-19) หากนำมาประยุกต์ติดกับปุ่มลิฟต์โดยสาร เตรียมนำร่องที่ลิฟต์โดยสารภายในมจธ. และพร้อมให้คำแนะนำสำหรับหน่วยงานและผู้สนใจ

     ดร.ก้องเกียรติ ปุภรัตนพงษ์ หัวหน้าหน่วยวิจัยการผลิตโลหะขั้นสูง (RCAMP) และอาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมหล่อโลหะและโลหการ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า ในอดีตมีการนำทองแดงมาทำแก้วน้ำ ภาชนะใส่อาหาร ทำให้อาหารหรือน้ำนั้นไม่เสียง่าย โดยคนสมัยโบราณไม่ทราบว่าเกิดจากเหตุใด แต่ก็ใช้สืบทอดกันเรื่อยมา จนกระทั่งมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในต่างประเทศเมื่อปี 1973 นักวิจัยพบว่าทองแดงสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ซึ่งเป็นการค้นพบเชิงวิชาการครั้งแรกๆในโลก แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้ทองแดงทำภาชนะเพราะใช้ไปนานๆ จะเกิดสนิมสีเขียวทำให้ไม่สวย จึงหันไปใช้วัสดุอื่นมากกว่า เช่น ปุ่มลิฟต์ ลูกบิดประตู เครื่องใช้ต่างๆ นิยมใช้สแตนเลสเพราะสวยงามทำความสะอาดง่ายและเกิดสนิมได้ยากกว่า เป็นต้น ในสถานการณ์ปัจจุบันพบว่ามีการใช้ทองแดงกับอุปกรณ์การแพทย์และเครื่องใช้เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดเชื้อโรคจำนวนมากในต่างประเทศ ซึ่งการศึกษาประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ทีมงานเราจึงศึกษาเพิ่มเติมและพบว่ามีงานวิจัยรองรับว่าทองแดงสามารถฆ่าเชื้อโรคได้จริง

     ทีมอาจารย์และนักวิจัย มจธ. ประกอบด้วย รศ.ดร.เชาวลิต ลิ้มมณีวิจิตร, ดร.ศุภฤกษ์ บุญเทียร และ ดร.ก้องเกียรติ ปุภรัตนพงษ์ นำจึงนำแผ่นทองแดงมาประยุกต์เป็นปุ่มลิฟต์โดยสาร ซึ่งเป็นจุดที่จำเป็นต้องใช้นิ้วสัมผัสและจุดเสี่ยงในการแพร่ระบาดเชื้อโรค หากมีเชื้อโรคอยู่บนพื้นผิววัสดุทองแดงทั้งจากน้ำลาย หรือเชื้อโรคอื่นๆ ที่ติดอยู่ที่นิ้วมือที่สัมผัสกับปุ่มลิฟต์ เช่น แบคทีเรียหรือไวรัส จากงานวิจัยด้านชีววิทยาพบว่าอิออนของทองแดงจะเข้าไปทำลายลิพิด เมมเบรน (Lipid membrane) ของเชื้อโรคทำให้เชื้อโรคตายไปเองในที่สุด

     จากงานวิจัยปี 2015 ของประเทศอังกฤษ พบว่าไวรัสโคโรนาหากอยู่บนพื้นผิวทองแดง 90 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ไวรัสโคโรนาจะตายในเวลา 20 นาที ในขณะที่อยู่บนผิววัสดุอื่นไวรัสจะยังคงมีชีวิตอยู่ได้นานมาก

     โดยข้อมูลล่าสุดปี 2020 มีผลงานวิจัยยืนยันว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 หากอยู่บนพื้นผิวทองแดงจะตายภายใน 4 ชั่วโมง ในสภาพอากาศเย็น แต่ประเทศไทยอากาศร้อนไวรัสอาจจะตายเร็วกว่านั้น

     ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ ได้รับการสนับสนุนชุดปุ่มลิฟต์ทองแดงบริสุทธิ์ 99.9 เปอร์เซ็นต์ สำหรับติดปุ่มลิฟต์โดยสาร จำนวน 12 ชุด จาก ว่าที่ร้อยตรีปพนสรรค์ ผ่องใส ซึ่งเป็นศิษย์เก่าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลัดธัญญปพน) ติดตั้งภายในมหาวิทยาลัย หากหน่วยงานใดสนใจสามารถติดต่อได้ที่ 02-4709188 หรืออีเมล kongkiat.pup@gmail.com


KMUTT Production Engineers Hint Copper’s Natural Antiviral Properties

       Dr. Kongkiat Puparatanapong, Head of Research Center for Advanced Metal Processing (RCAMP) and lecturer at the Department of Production Engineering, Faculty of Engineering, KMUTT, together with the research team members including Assoc. Prof. Dr. Chaowalit Limmaneevichitr and Dr. Supareuk Boontien suggest using copper to fight back against Coronavirus disease or COVID-19.

        The outer structure or membrane of the coronavirus is like most viruses made of a lipid bilayer that houses proteins and enables the virus to attach itself to host cells. However, it can inactivate by the copper ions that contain natural antimicrobial and antiviral properties.

        Dr. Kongkiat Puparatanapong revealed that the research team conduct an additional study and discovered evidence confirmed the property to kill the virus. The research in 2015 and the recent medical study in 2020 show the time virus can be killed on the surface of over 90 percent copper.  Besides, pure copper foil can be used for this purpose as well. Therefore, the team studied to incorporate copper plate into elevator buttons, the touch surfaces easily contaminated and have a high risk of transmission. By doing so can reduce the risk of being infected.

        As a pilot project, 12 elevators at KMUTT installed the copper buttons provided by Acting Sub. Lt. Paponsan Pongsai (LUDTHUNYADAPON LIMITED PARTNERSHIP), who graduated from the Production Engineering Department. For more information or any inquiries please contact KMUTT at Tel. 02-4709188 or email: kongkiat.pup@gmail.com