หอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ติดต่อหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

LINE: @kmutt_residence
http://www.residencehall.kmutt.ac.th/

มจธ. ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของนักศึกษาหอพัก

มจธ. ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของนักศึกษาหอพัก
และขอเป็นกำลังใจให้กับพวกเราทุกคนในช่วงสถานการณ์นี้

  • มหาวิทยาลัยจัดยานพาหนะส่งนักศึกษากลับบ้านต่างจังหวัด
  • คืนค่าบำรุงหอพัก 2 เดือน เต็มจำนวน วงเงิน 6,716,810 บาท ให้กับนักศึกษาที่กลับภูมิลำเนา ตั้งแต่เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2563
    • หอพัก มจธ. บางมด จำนวน 3,564,180 บาท
    • หอพัก มจธ. บางขุนเทียน จำนวน 1,959,350 บาท
    • หอพัก มจธ. ราชบุรี จำนวน 1,193,280 บาท
  • จัดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 สำหรับนักศึกษาหอพักภายในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้กลับภูมิลำเนา
    • ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าหอพัก
    • จัดซื้อเครื่องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ และเครื่องผลิตโอโซน ติดตั้งประจำหอพักนักศึกษา
    • ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อภายในห้องพักและบริเวณโดยรอบหอพัก
    • จัดเตรียมเจลแอลกอฮอล์/สบู่เหลวตามจุดต่างๆ
    • แจกแจลแอลกอฮอล์ขนาดพกพา
      ร้านอาหารภายในหอพัก
    • จัดทำที่กั้นสำหรับนั่งรับประทานอาหาร
    • ใช้ภาชนะอาหารแบบใช้แล้วทิ้งเท่านั้น
    • จัดซื้อเครื่องสำหรับฆ่าเชื้อช้อนส้อมด้วยแสงยูวีเตรียมพร้อมเมื่อกลับมาใช้ภาชนะแบบปกติ
  • มอบอาหารน้ำดื่มและของใช้จำเป็นสำหรับนักศึกษาหอพักภายในและหอพักโดยรอบมหาวิทยาลัย
    • Food For Friends และโครงการพี่ช่วยน้องโดยสมาคมนักศึกษาเก่า มจธ. ในพระบรมราชูปถัมภ์ และนักศึกษาจิตอาสา
    • โครงการระดมทุนจัดหาอาหารช่วยคนว่างงานจากสถานการณ์ COVID-19 โดย มจธ. และนักศึกษาเก่า มจธ. จากการประปานครหลวง
    • ตู้ปันสุข ณ หน้าประตูทางเข้า-ออกมหาวิทยาลัย หอพักหญิง และหอพักชายโดยมดอาสา

โครงการระดมทุนจัดหาอาหารช่วยคนว่างงานจากสถานการณ์ COVID-19 และโครงการสนับสนุนผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษจากเกษตรกรในชุมชนรอบ มจธ. ราชบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับ นักศึกษาเก่า มจธ. หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ดำเนิน “โครงการระดมทุนจัดหาอาหารช่วยคนว่างงานจากสถานการณ์ COVID-19” โดยร่วมสนับสนุนอาหารกลางวัน และข้าวสารอาหารแห้งให้กับชุมชนรอบมหาวิทยาลัย และสนับสนุนผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษจากเกษตรกรในชุมชนรอบ มจธ. ราชบุรี

ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2563 – 22 พฤษภาคม 2563 ร่วมนำอาหารปรุงสำเร็จแจกจ่ายแก่ประชาชนโดยรอบมหาวิทยาลัย

โครงการดังกล่าว นอกจากเป็นการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) แล้ว ยังเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารภายใน มจธ. ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดมหาวิทยาลัย และยังได้ช่วยเกษตรกรในชุมชนบริเวณ มจธ. ราชบุรี ที่ประสบปัญหาในการขายผลผลิต และผลผลิตราคาตกต่ำ ซึ่งจะดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยฯ ขอขอบคุณบุคลากร นักศึกษาเก่า มจธ. ผู้ประกอบการทุกท่านที่ร่วมสมทบบริจาคทุนทรัพย์ โดยสามารถบริจาคอาหารแห้ง หรือ ร่วมสมทบทุนบริจาคเงิน ได้ที่ บัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ธนาคารกรุงเทพ เลขที่ 037-7-00008-8 และสอบถามหรือยืนยันข้อมูลการบริจาคเพิ่มเติมได้ที่ คุณฉันทนา ภู่ธราภรณ์ โทร. 0-24708051 หรือ 081-3036050

หางาน-หาคน ช่วง COVID แชทมาเลยที่ Saku Bot: “สาคู กูรูงาน” บอทที่จะช่วยให้คุณ “หางาน” และ “หาคนทำงาน” ได้ง่าย ๆ

“สาคู กูรูงาน” จากผู้จัดทำ Covid Bot ที่ฮิตถล่มถลายทั่วไทยเเละต่างประเทศเมื่อตอนไวรัสระบาดใหม่ ๆ พวกเราก็ได้กลับมาอีกครั้งเพื่อช่วยเหลือบรรเทาปัญหาจาก COVID-19

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 นำไปสู่การทุ่มเทสรรพกำลังความสามารถทางสาธารณสุขและทางการแพทย์เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดที่รุนแรง ซึ่งประเทศไทยสามารถทำได้เป็นอย่างดี แต่ต้องแลกมาด้วยการหยุดกิจกรรมแทบทั้งหมดของผู้คน
คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามาตรการต่างๆนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง กิจการจำนวนมากต้องปิดตัวลง การค้าขายซบเซา ส่งผลให้มีคนตกงานจำนวนมากและเป็นการยากที่จะหางานใหม่เพื่อหาเลี้ยงปากท้อง

พวกเราภูมิใจนำเสนอ “สาคู กูรูงาน” บอทที่จะช่วยให้คุณ “หางาน” และ “หาคนทำงาน” ได้ง่าย ๆ เพียงแค่ให้ข้อมูลกับเราว่าคุณอยากได้งานแบบไหน อายุเท่าไหร่ อยู่บริเวณไหน ฯลฯ บอทก็จะทำการค้นหางานให้กับคุณอย่างทันทีทันใด เหมือนดั่ง Grab แห่งโลกการหางานนั่นเอง

คุยกับแชทบอทได้เลยตอนนี้ที่ : m.me/sakubot
https://www.facebook.com/sakubot

จากทีมผู้ร่วมงาน: Freak Lab (KMUTT), JSTP Scholarship Student Alumni, Codustry, Lukkid, MIT Media Lab, และ Upski

โครงการระดมทุนจัดหาอาหารช่วยคนว่างงานจากสถานการณ์ COVID-19

มจธ. มอบอาหารแห้งแก่โรงเรียนในพื้นที่อำเภอสวนผึ้ง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จากการแพร่ระบาดของ COVID-19

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 โครงการระดมทุนจัดหาอาหารช่วยคนว่างงานจากสถานการณ์ COVID-19 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ลงพื้นที่จังหวัดราชบุรี เพื่อมอบอาหารแห้งให้แก่โรงเรียนใกล้เคียง มจธ.ราชบุรี ในพื้นที่อำเภอสวนผึ้ง จำนวน 4 โรงเรียน โดยได้เดินทางไปที่โรงเรียนธรรมศาสตร์-จุฬา 2 โรงเรียนวัดรางเสน่ห์นครจันทร์ โรงเรียนบ้านตะโกล่าง และโรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง 2 (บ้านบ่อหวี) โครงการดังกล่าว เป็นการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ปกครองของนักเรียน เป็นกำลังใจในการดำรงชีวิตเพื่อที่จะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันโดยไม่โดดเดี่ยว

มจธ. ชวนชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษสร้างความมั่นคงทางอาหาร ในช่วงวิกฤติโควิด-19

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นำโดยกลุ่มงานส่งเสริมกิจกรรมอย่างยั่งยืน ศูนย์ (EESH) ได้นำเมล็ดพืชผักสวนครัว และน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารจากการผลิตไบโอแก๊สของ มจธ. พร้อมกับมอบคู่มือการปลูกผักปลอดสารพิษไปมอบให้กับประชาชนในชุมชนหลังสวนธน เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 ซึ่งเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวกลุ่มนักศึกษา Green Heart ได้รับบริจาค มาจากประชาชนทั่วประเทศไทย ผ่านช่องทางสื่อและกลุ่มออนไลน์ต่างๆ เพื่อนำไปมอบให้กับ 15 ชุมชนรอบมหาวิทยาลัยนำไปปลูกพืชเป็นผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคและช่วยลดค่าใช้จ่ายในช่วงสถานการณ์ COVID-19

ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 2: มุ่งมั่นขจัดความหิวโหย เป้าหมายที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน และ เป้าหมายที่ 17: ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

นักศึกษาที่ค้างส่งหนังสือหรือมีค่าปรับกับสำนักหอสมุด ไม่สามารถตรวจสอบผลการเรียนในระบบ new acis ได้

📢ประกาศ
นักศึกษาที่ค้างส่งหนังสือหรือมีค่าปรับ
กับสำนักหอสมุด ไม่สามารถตรวจสอบ
ผลการเรียนในระบบ new acis ได้

โปรดติดต่อสำนักหอสมุด
ผ่านทาง line official>> @kmuttlibrary

หมายเหตุ สำนักหอสมุดส่งอีเมลแจ้งนักศึกษา เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 63

โครงการตู้แลกเปลี่ยนแบ่งปัน ร่วมสร้างสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนแบ่งปันในยามวิกฤต และนำไปสมทบ ณ ตู้ปันสุข มจธ.

ร่วมบริจาคสิ่งของที่มีสภาพดีและนำไปใช้ได้ อาทิ เสื้อผ้า รองเท้า ของใช้ในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า ของเล่น ตุ๊กตา หรืออาหารแห้ง
เริ่มวันที่ 18 พฤษภาคม 2563
หรือ แลกเปลี่ยนแบ่งปันกัน ในวันจันทร์ พุธ และศุกร์
เริ่มวันที่ 22 พฤษภาคม 2563
โดยไม่จำกัดมูลค่าและชนิดสิ่งของที่นำมาแลกเปลี่ยน

มจธ.ร่วมกันปันน้ำใจ สุขใจกับการเป็นผู้ให้และได้รับ สามารถบริจาค หรือแลกเปลี่ยน ได้ที่ บริเวณชั้น 1 อาคารจอดรถ ระหว่างเวลา 09.00 – 17.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)

อาจารย์สถาปัตย์ มจธ. พร้อมส่งต่อดีไซน์แบบสถานีคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 แยกพื้นที่การรอตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีบุคลากรทางการแพทย์จำนวนหนึ่งได้รับเชื้อจากผู้ป่วยระหว่างทำการตรวจและรักษา เนื่องจากอุปกรณ์ป้องกันตัวเองอย่างเช่น หน้ากากอนามัยแบบ N95 มีความขาดแคลน ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่มาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยโรคอื่น ๆ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของงานดีไซน์แบบสถานีคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 หรือ COVID-19 Test Station ที่เกิดจากการออกแบบของอาจารย์สุนารี ลาวัลยะวัฒน์ และ Dr. Martin Schoch อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

อาจารย์สุนารี ลาวัลยะวัฒน์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. กล่าวว่า เริ่มแรกทางทีมได้ออกแบบตู้ชุดแรกเพื่อใช้สำหรับการตรวจแบบ Nasal Swab Test ซึ่งเป็นการตรวจสารคัดหลั่งหลังโพรงจมูก และในบริเวณคอของผู้ป่วย ด้วยเทคนิค Polymerase Chain Reaction (PCR) พบว่าบุคลากรทางการแพทย์ต้องเข้าใกล้ตัวผู้ป่วยมาก รวมถึงได้ทราบจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ว่าทุกขั้นตอนการตรวจคัดกรอง ตั้งแต่ก่อนตรวจ ระหว่างตรวจ และหลังการเข้ารับการตรวจนั้นล้วนมีความเสี่ยงทั้งสิ้น เนื่องจากแต่ละโรงพยาบาลมีผู้มารอตรวจจำนวนมากทำให้เกิดความแออัด จึงคิดต่อเนื่องเป็นงานออกแบบของสถานีคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 โดยจะแบ่งเป็น 5 จุด 5 สถานีย่อย ดังนี้ จุดที่ 1 คือ ทำการประเมินว่าเป็นคนไข้ที่เข้าเกณฑ์การตรวจหรือไม่ จุดที่ 2 คือ จุดให้คำปรึกษาหลังจากที่ผ่านการประเมินเข้าเกณฑ์แล้ว จุดที่ 3 Swab Test การตรวจสารคัดหลั่งหลังโพรงจมูกและในบริเวณคอ จุดที่ 4 จุดจ่ายยาสำหรับบรรเทาอาการเบื้องต้น ระหว่างรอผลตรวจ เช่น ยาแก้ปวด ลดไข้ จุดที่ 5 จุดลงทะเบียนติดตามผล

อาจารย์สุนารี ลาวัลยะวัฒน์ ยังเปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่าปัจจุบันทางทีมได้ส่งมอบแบบไปยังโรงพยาบาลแล้ว ทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่ รพ.สมิติเวช สุขุมวิท รพ.เทศบาลนครอุดรธานี กองวิศวกรรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เทศบาลนครนครสวรรค์ รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทศบาลนครพิษณุโลก และกลุ่มงานโครงสร้างพื้นฐานและวิศวกรรมทางการแพทย์ รพ.ศรีสะเกษ และยินดีที่จะส่งมอบแบบให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์ โดยโรงพยาบาลสามารถนำไปปรับให้เข้ากับพื้นที่และงบประมาณของแต่ละโรงพยาบาลไปดำเนินการก่อสร้างได้เอง โดยจะมีทีมงานอาจารย์คอยให้คำปรึกษาในการนำแบบไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่และมีประโยชน์สูงสุดต่อไป อีกทั้งยังได้ทำความร่วมมือกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มจธ. นำตู้โทรศัพท์เก่ามาประยุกต์ใช้ โดยยึดหลักการที่ว่าทำอย่างไรที่จะใช้งานเป็นสถานีคัดกรองแบบประยุกต์นอกอาคาร เพื่อเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่โรงพยาบาลชุมชน หน่วยงานสาธารณสุขที่ห่างไกล และต้องการสนับสนุนในช่วงวิกฤต โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ต้องการสอบถามข้อมูล ติดต่อได้ที่อีเมล sunaree.law@mail.kmutt.ac.th หรือ https://bit.ly/TOT-COVID-19-Test-Station

KMUTT architecture lecturers offer hospitals the COVID-19 patient screening sub-station design with specific zones to reduce risk of transmission

As the COVID-19 outbreak continues, healthcare workers become infected during testing and treatment for potentially infected people. While personal protective equipment such as the n95 mask is rare, the design for the COVID-19 test station by Ms. Sunaree Lawanyawatna and Dr. Martin Schoch, architecture lecturers from SoA+D: School of Architecture and Design from KMUTT, has been developed. It is said to help reduce the spread of the disease to medical staff and other hospital patients.

Ms. Sunaree Lawanyawatna, SoA+D: School of Architecture and Design, King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT) disclosed that earlier, the team designed a single booth for conducting a nasal swab. The swab is a method for collecting a test sample of nasal secretions from the back of the nose and the throat by using a polymerase chain reaction or PCR technique. Health care workers must be in very close contact with patients. She learned from interviews with doctors and experts that throughout the process of providing care, during and after the treatment, health care workers face the risks of infection. At each hospital, many patients are waiting, hence crowd gatherings occur. Out of this necessity, her continued ideas of five connected stations of COVID screening areas have emerged. The first station is to assess whether the patient meets the criteria for testing or not. The second is where health workers provide consultation after the assessment. Next is where the nasal swab-test takes place. The fourth is the medication dispensing substation for general symptoms while waiting for results such as painkillers and fever reducer. The last, the fifth substation is the registration point for follow-up.

Ms. Sunaree Lawanyawatna also added that drawing documentations of the design were provided to six hospitals, which are: Samitivej Sukhumvit Hospital, Udon Thani Municipality Hospital, Medical Engineering Division, Ministry of Health, Nakhon Sawan Municipality, Fort Somdej Phranaresuan Maharaj Hospital, Pitsanulok Municipality, Infrastructure and Medical Engineering Subdivision of Sri Saket Hospital, and Khanom Hospital, Nakhon Si Thammarat. The team continues to offer the design to more hospitals, which can be modified to suit the area, required use or budget of each hospital.

Together with the Institute of Field Robotics (FIBO) and TOT Public Company Limited, the team is cooperating on the adaptation of old phone booths for the screening and sample-taking purposes to assist the work of community hospitals and public health agencies in remote areas. Interested parties requiring more information can email sunaree.law@mail.kmutt.ac.th or visit https://bit.ly/TOT-COVID-19-Test-Station

โครงการตู้ปันสุข มดอาสาปันสุขในช่วงวิกฤต COVID 19

ตู้ปันสุข โดย มดอาสาปันสุขในช่วงวิกฤต COVID-19 เปิดให้บริการแล้ววันนี้

ร่วมแบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ อุปกรณ์ป้องกันตนเอง อาทิ เช่น เจลแอลกอฮอล์ น้ำดื่ม อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง และสิ่งของอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

จุดรับบริจาค สำหรับบุคลากร มจธ.
ลานอเนกประสงค์ ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี
(หลังจากนั้นจะมีมดอาสานำของที่ท่านบริจาคไปกระจายที่ตู้ปันสุข)
หรือท่านสามารถบริจาคได้ที่จุดตู้ปันสุข

ตู้ปันสุขมีให้บริการ 3 จุด
จุดที่ 1 หน้าประตูทางเข้า-ออก มหาวิทยาลัย
จุดที่ 2 หอพักหญิง มจธ.
จุดที่ 3 หอพักชาย มจธ.

ร่วมกันแบ่งปันและส่งต่อกำลังใจให้กับทุกคนในยามวิกฤตนี้ ผ่าน ” ตู้ปันสุข “