การลงทะเบียนรอบพิเศษเพื่อรับ Unlimited Mobile Data Package เฉพาะนักศึกษาที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนมาก่อน

การลงทะเบียนรอบพิเศษเพื่อรับ Unlimited Mobile Data Package (Maximum speed at 4 Mbps เป็นเวลา 90 วัน) เฉพาะนักศึกษา มจธ. ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนมาก่อน

ขอให้นักศึกษา พิจารณาข้อมูลให้เข้าใจก่อนการกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
สำหรับ นศ. ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนในครั้งก่อนเท่านั้น
แบบฟอร์มการลงทะเบียน
https://bit.ly/kmutt-sim3
1 คน ได้รับสิทธิ์ 1 PINCODE เท่านั้น
เปิดให้ลงทะเบียนถึงวันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม 2563 เวลา 12.00 น.
**นักศึกษาต้อง login ผ่าน @mail.kmutt.ac.th**

  • หากนักศึกษายังมีโปรโมชั่น Unlimited เดิมอยู่ อาจทำให้เติม PINCODE ของ มจธ. ไม่ได้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของนักศึกษา นักศึกษามีทางเลือกดังนี้
  1. ควรรอให้โปรโมชั่น Unlimited เดิมที่มีอยู่หมดไปก่อน แล้วจึงกด PINCODE ของ มจธ. เพื่อรับสิทธิ์ภายหลัง ทั้งนี้ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2563
  2. ขอรับซิมใหม่ แล้วจึงกด PINCODE ของ มจธ. ผ่านซิมใหม่ ทั้งนี้ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2563

Q: นักศึกษาจะได้รับ Unlimited Mobile Data Package อย่างไร

A: ก) ในกรณีที่ใช้ SIM เดิม มจธ. จะส่ง PINCODE ให้ผ่านทาง SMS ที่นักศึกษาลงทะเบียนไว้ เพื่อใช้ในการกดรหัสผ่านโค้ดมือถือ (USSD)
ข) ในกรณีที่ขอรับ SIM ใหม่ ให้นักศึกษาไปรับซิมได้ตามที่ระบุเมื่อกรอกแบบฟอร์ม จากนั้นให้ใช้ PINCODE ที่มจธ.ส่งให้ เพื่อใช้ในการกดรหัสผ่านโค้ดมือถือ (USSD)

ทั้งนี้คาดว่าจะส่ง PINCODE ให้ได้ หลังกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์หลังสรุปยอดการลงทะเบียน

วิศวฯอุตสาหการ มจธ. แนะทองแดงมีสมบัติทำลายเชื้อโรคได้โดยธรรมชาติ

      อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) แนะทองแดงสามารถทำลายเชื้อโรคได้โดยธรรมชาติหวังช่วยลดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-ไนน์ทีน (Covid-19) หากนำมาประยุกต์ติดกับปุ่มลิฟต์โดยสาร เตรียมนำร่องที่ลิฟต์โดยสารภายในมจธ. และพร้อมให้คำแนะนำสำหรับหน่วยงานและผู้สนใจ

     ดร.ก้องเกียรติ ปุภรัตนพงษ์ หัวหน้าหน่วยวิจัยการผลิตโลหะขั้นสูง (RCAMP) และอาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมหล่อโลหะและโลหการ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า ในอดีตมีการนำทองแดงมาทำแก้วน้ำ ภาชนะใส่อาหาร ทำให้อาหารหรือน้ำนั้นไม่เสียง่าย โดยคนสมัยโบราณไม่ทราบว่าเกิดจากเหตุใด แต่ก็ใช้สืบทอดกันเรื่อยมา จนกระทั่งมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในต่างประเทศเมื่อปี 1973 นักวิจัยพบว่าทองแดงสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ซึ่งเป็นการค้นพบเชิงวิชาการครั้งแรกๆในโลก แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้ทองแดงทำภาชนะเพราะใช้ไปนานๆ จะเกิดสนิมสีเขียวทำให้ไม่สวย จึงหันไปใช้วัสดุอื่นมากกว่า เช่น ปุ่มลิฟต์ ลูกบิดประตู เครื่องใช้ต่างๆ นิยมใช้สแตนเลสเพราะสวยงามทำความสะอาดง่ายและเกิดสนิมได้ยากกว่า เป็นต้น ในสถานการณ์ปัจจุบันพบว่ามีการใช้ทองแดงกับอุปกรณ์การแพทย์และเครื่องใช้เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดเชื้อโรคจำนวนมากในต่างประเทศ ซึ่งการศึกษาประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ทีมงานเราจึงศึกษาเพิ่มเติมและพบว่ามีงานวิจัยรองรับว่าทองแดงสามารถฆ่าเชื้อโรคได้จริง

     ทีมอาจารย์และนักวิจัย มจธ. ประกอบด้วย รศ.ดร.เชาวลิต ลิ้มมณีวิจิตร, ดร.ศุภฤกษ์ บุญเทียร และ ดร.ก้องเกียรติ ปุภรัตนพงษ์ นำจึงนำแผ่นทองแดงมาประยุกต์เป็นปุ่มลิฟต์โดยสาร ซึ่งเป็นจุดที่จำเป็นต้องใช้นิ้วสัมผัสและจุดเสี่ยงในการแพร่ระบาดเชื้อโรค หากมีเชื้อโรคอยู่บนพื้นผิววัสดุทองแดงทั้งจากน้ำลาย หรือเชื้อโรคอื่นๆ ที่ติดอยู่ที่นิ้วมือที่สัมผัสกับปุ่มลิฟต์ เช่น แบคทีเรียหรือไวรัส จากงานวิจัยด้านชีววิทยาพบว่าอิออนของทองแดงจะเข้าไปทำลายลิพิด เมมเบรน (Lipid membrane) ของเชื้อโรคทำให้เชื้อโรคตายไปเองในที่สุด

     จากงานวิจัยปี 2015 ของประเทศอังกฤษ พบว่าไวรัสโคโรนาหากอยู่บนพื้นผิวทองแดง 90 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ไวรัสโคโรนาจะตายในเวลา 20 นาที ในขณะที่อยู่บนผิววัสดุอื่นไวรัสจะยังคงมีชีวิตอยู่ได้นานมาก

     โดยข้อมูลล่าสุดปี 2020 มีผลงานวิจัยยืนยันว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 หากอยู่บนพื้นผิวทองแดงจะตายภายใน 4 ชั่วโมง ในสภาพอากาศเย็น แต่ประเทศไทยอากาศร้อนไวรัสอาจจะตายเร็วกว่านั้น

     ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ ได้รับการสนับสนุนชุดปุ่มลิฟต์ทองแดงบริสุทธิ์ 99.9 เปอร์เซ็นต์ สำหรับติดปุ่มลิฟต์โดยสาร จำนวน 12 ชุด จาก ว่าที่ร้อยตรีปพนสรรค์ ผ่องใส ซึ่งเป็นศิษย์เก่าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลัดธัญญปพน) ติดตั้งภายในมหาวิทยาลัย หากหน่วยงานใดสนใจสามารถติดต่อได้ที่ 02-4709188 หรืออีเมล kongkiat.pup@gmail.com


KMUTT Production Engineers Hint Copper’s Natural Antiviral Properties

       Dr. Kongkiat Puparatanapong, Head of Research Center for Advanced Metal Processing (RCAMP) and lecturer at the Department of Production Engineering, Faculty of Engineering, KMUTT, together with the research team members including Assoc. Prof. Dr. Chaowalit Limmaneevichitr and Dr. Supareuk Boontien suggest using copper to fight back against Coronavirus disease or COVID-19.

        The outer structure or membrane of the coronavirus is like most viruses made of a lipid bilayer that houses proteins and enables the virus to attach itself to host cells. However, it can inactivate by the copper ions that contain natural antimicrobial and antiviral properties.

        Dr. Kongkiat Puparatanapong revealed that the research team conduct an additional study and discovered evidence confirmed the property to kill the virus. The research in 2015 and the recent medical study in 2020 show the time virus can be killed on the surface of over 90 percent copper.  Besides, pure copper foil can be used for this purpose as well. Therefore, the team studied to incorporate copper plate into elevator buttons, the touch surfaces easily contaminated and have a high risk of transmission. By doing so can reduce the risk of being infected.

        As a pilot project, 12 elevators at KMUTT installed the copper buttons provided by Acting Sub. Lt. Paponsan Pongsai (LUDTHUNYADAPON LIMITED PARTNERSHIP), who graduated from the Production Engineering Department. For more information or any inquiries please contact KMUTT at Tel. 02-4709188 or email: kongkiat.pup@gmail.com

อาจารย์ มจธ. ผลิตอุปกรณ์และปรับปรุงกระบวนการ เพิ่มกำลังผลิตหน้ากากอนามัยช่วยโรงงาน ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิต 30%

บริษัทผลิตหน้ากากอนามัยในประเทศไทยมีเพียง 11 บริษัท และมีเพียง 2-3 บริษัทเท่านั้นที่เป็นบริษัทรายใหญ่ที่มีกำลังผลิตสูง โดย รศ.ดร.บวรโชค ผู้พัฒน์ และอาจารย์นพณรงค์ ศิริเสถียร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) คุณไพศาล ตั้งชัยสิน นักศึกษาเก่าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และ นายทศพร บุญแท้ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม ได้ทำงานร่วมกับบริษัท ไทยฮอสพิทอล โปรดักส์ จำกัด หวังช่วยให้โรงงานขนาดใหญ่มีกำลังผลิตเพิ่มมากขึ้นในเวลาที่รวดเร็ว ใช้เงินลงทุนไม่มาก ร่วมกับใช้เครื่องเชื่อมอัลตราโซนิกแบบ Manual ที่ให้การผลิตต่ำกว่าเครื่องผลิตหน้ากากอนามัยแบบอัตโนมัติ

รศ.ดร.บวรโชค ผู้พัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์วิจัยและบริการวิศวกรรมการเชื่อม กล่าวว่า บริษัท ไทยฮอสพิทอล โปรดักส์ จำกัด ที่ทางมจธ.ได้มีโอกาสเข้าไปช่วยคิดวางแผนและผลิตอุปกรณ์เพื่อเพิ่มกำลังผลิตนั้น เป็นบริษัทขนาดใหญ่มีกำลังการผลิตที่มีสัดส่วนประมาณ1 ใน 3 ของประเทศ ในช่วงนี้บริษัทเปิดงานการผลิตตลอด โดยเครื่องที่บริษัทใช้งานอยู่นั้นเป็นเครื่องแบบอัตโนมัติ 2 เครื่อง มีกำลังการผลิต โดยประมาณ 64,000 ชิ้นต่อ 8 ชั่วโมงทำงาน และเครื่องแบบกึ่งอัตโนมัติมีกำลังการผลิต โดยประมาณ 16,000 ชิ้นต่อ 8 ชั่วโมงทำงาน และมีการใช้เครื่องเชื่อมเชื่อมอัลตราโซนิกแบบ Manual จำนวน 60 เครื่อง โดยมีกำลังการผลิต 210,000 ชิ้นต่อ 8 ชั่วโมงทำงาน (เฉลี่ย 3,500 ชิ้น ต่อเครื่องต่อ 8 ชั่วโมงทำงาน) ซึ่งทางบริษัทได้มีเพิ่มการทำงานเป็น 2 กะ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตในส่วนของเครื่องผลิตแบบอัตโนมัติสามารถทำได้และทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และลดเวลาการติดตั้งและการซ่อมบำรุง แต่เนื่องจากขั้นตอนการปรับปรุงต้องมีการปรับตั้งซึ่งอาจจะกระทบกำลังการผลิตในปัจจุบัน และเครื่องจักรยังจำเป็นต้องเร่งการผลิตอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นทางมจธ. จึงมุ่งไปพัฒนาในส่วนของเครื่องเชื่อมเชื่อมอัลตราโซนิกแบบ Manual ที่ในบริษัทมีมากถึง 60 เครื่อง และมีกำลังการผลิตรวมถึง 210,000 ชิ้นต่อ 8 ชั่วโมงทำงาน โดยเครื่องนี้ต้องใช้พนักงานป้อนตัวหูเกี่ยวยางยืด (ear loop) ซึ่งกระบวนการที่ช้าและอีกทั้งต้องใช้ความชำนาญของพนักงาน ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมาก ในขั้นตอนการเชื่อมหูเกี่ยวกับแผ่นหน้ากากอนามัยด้วยเสียง (ultrasonic) พนักงานที่มีชำนาญสามารถผลิตได้ประมาณ 4,800 ชิ้นต่อ 8 ชั่วโมงทำงาน แต่พนักงานที่ฝึกใหม่และมีจำนวนคนมากกว่า สามารถผลิตได้ประมาณ 1,200-2,000 ชิ้นต่อ 8 ชั่วโมงทำงาน รวมทั้งคุณภาพที่ไม่สม่ำเสมอ

โดยในโครงการนี้ทาง มจธ. ได้เสนอการดำเนินการแบบเร่งด่วน คือ 1.ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของพนักงานและแก้ไขจุดที่เป็นคอขวดของงานเท่าที่จะทำได้ และ 2. ทำการออกแบบอุปกรณ์เสริมทำให้การเชื่อมหูเกี่ยว เร็ว และแม่นยำ โดยพนักงานไม่ต้องคอยเล็งว่าตรงหรือไม่ และออกแบบหัวเชื่อมอัลตราโซนิกใหม่จากเดิมต้องเชื่อม 4 จุด พลิกผ้า 4 ครั้ง เครื่องนี้จะเชื่อมได้ครั้งละ 2 จุด พลิกผ้า 1 ครั้ง สามารถผลิตได้ประมาณ 5,000-6,000 ชิ้นต่อเครื่อง ต่อ 8 ชั่วโมงทำงาน ซึ่งถือว่าสามารถเพิ่มกำลังการผลิตเฉลี่ยได้ถึง 50% หากพัฒนาเครื่องมือจนใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพโดยผนวกกับระบบกึ่งอัตโนมัติที่กำลังพัฒนาต้นแบบจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากถึง 6,000-6,500 ชิ้นต่อเครื่อง ต่อ 8 ชั่วโมงทำงาน คิดเป็น 360,000 – 390,000 ชิ้นต่อ 8 ชั่วโมงทำงาน และมีคุณภาพดีเสมอกัน โดยเมื่อรวมกับเครื่องผลิตหน้ากากอนามัยแบบอัตโนมัติ และกึ่งอัตโนมัติแล้วสามารถเพิ่มกำลังการผลิตรวมได้มากกว่า 30% สำหรับอุปกรณ์ต้นแบบที่ส่งไปให้โรงงานทดลองใช้เพิ่มกำลังผลิตยังทำอยู่ต่อเนื่อง และจะหาแนวทางการลดการหยิบจับ การรับส่งชิ้นงานให้น้อยลงด้วย

รศ.ดร.บวรโชค ผู้พัฒน์ กล่าวทิ้งท้ายว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อาจจะยังอยู่ไปอีกสักระยะ ดังนั้นการเพิ่มกำลังผลิตหน้ากากอนามัยที่ยังคงขาดแคลนต้องดำเนินการต่อ โดยในไทยยังมีโรงงานที่พบปัญหาแบบเดียวกัน หากโรงงานนี้ซึ่งเป็นโรงงานต้นแบบสามารถเพิ่มกำลังผลิตได้แล้ว เราสามารถกระจายความรู้นี้ส่งต่อไปยังโรงงานอื่นๆ ได้ ผู้สนใจสอบถามข้อมูลสามารถติดต่อได้ที่ pr@mail.kmutt.ac.th

KMUTT lecturers assist Thai mask industry by innovating equipment and streamlining the process to boost production by 30%

A team of KMUTT researchers has teamed up with Thai Hospital Products Co., Ltd. to accelerate production for ensuring Thai people sufficient supply. The team has 4 members leading by Assoc. Prof. Dr. Bavornchok Poopat and Mr. Nopnarong Sirisatien, KMUTT lecturers at the Department of Production Engineering. Secondly, Mr. Paisal Tangchaisin is a former student of the Department of Production Engineering. Lastly, Mr. Thossaporn Bunthae is from The Institute of Field Robotics (FIBO).

Assoc. Prof. Dr. Bovornchok Poopat revealed the plan after working with the company to help plan and design special equipment to increase their output. Because of the uninterrupted production, the company runs its automatic machines, a semi-automatic machine, and 60 manual ultrasonic welding machines in 2 shifts to raise the output. The limitation of time for maintenance leads the team to work on the development of 60 manual ultrasonic welding machines rather than the automated machines which cannot afford interruption to make the least effect on the current production plan.

Workers have to manually feed ear loops into a manual ultrasonic welding machine and weld them together with a face mask which slows the process and requires certain skills. The skillful workers can have 4,800 pcs/8 hours while less skilled or new workers can produce only 1,200-2,000 pcs/8 hours and the quality has not been consistent. After the team helps the company to change the working procedure for the workers and install additional equipment, a new ultrasonic welder head, the production can be raised to 5,000-6,000 pcs/ 8 hours or a 50% growth of production capacity. If the prototype is fully developed, the output can be increased to 6,000-6,5000 pcs/machine/8hrs or 360,000-390,000 pcs/60 machines/8hrs. Besides, the total capacity of the new machine combines with both automatic and semi-automatic machines will be 30% higher.

ระเบียบว่าด้วย การศึกษา ภายใต้มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2563

สืบเนื่องจากการเกิดภาวะวิกฤตของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) โดยคณะรัฐมนตรี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมหาวิทยาลัยฯ ได้มีการออกประกาศ มาตรการ และการเฝ้าระวังต่างๆ และให้มีการปิดมหาวิทยาลัยเป็นการชั่วคราว ซึ่งส่งผลกระทบต่อรูปแบบของการจัดการเรียนการสอน การสอบ และการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ดังนั้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 (2) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2541 ประกอบกับมติสภาพมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในการประชุมครั้งที่ 249 วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 จึงให้ออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีว่าด้วย การศึกษา ภายใต้มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2563”
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 2/2562 ภาคการศึกษาพิเศษ/2562 และภาคการศึกษาที่ 1/2563 นับตั้งแต่วันที่ลงนามประกาศเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้การลงทะเบียนเรียน และการชำระค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา การฝึกงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี การประเมินผลการเรียนและสภาพนักศึกษา การขยายระยะเวลาของนักศึกษา การสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) ของนักศึกษาระดับปริญญาเอก และการนำเสนอผลงานวิชาการของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตามวิธีการที่กำหนดในระเบียบนี้ มีผลเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2562
ข้อ 4 การลงทะเบียนเรียน และการชำระค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา
ข้อ 5 การฝึกงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
ข้อ 6 การประเมินผลการเรียนและสภาพนักศึกษา
ข้อ 7 การขยายระยะเวลาของนักศึกษา
ข้อ 8 การสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) ของนักศึกษาระดับปริญญาเอก ให้ขยายระยะเวลาในภาคการศึกษาที่ 2/2562 ไปจนถึงวันสุดท้ายของภาคการศึกษาที่กำหนดไว้ในปฏิทินการศึกษาที่เปลี่ยนแปลง
ข้อ 9 การนำเสนอผลงานวิชาการของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ข้อ 10 ให้อธิการบดีเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

โครงการพัฒนาธุรกิจหลังวิกฤติ COVID-19 สู่ความยั่งยืน

โครงการพัฒนาธุรกิจหลังวิกฤติ COVID-19 สู่ความยั่งยืน
สำหรับนักศึกษาเก่า/นักศึกษาปัจจุบัน มจธ. ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

  • เรียนรู้ออนไลน์
  • ปรึกษาเบื้องต้นกับผู้เชี่ยวชาญ
  • Workshop แนวคิดธุรกิจหลังวิกฤติ

ขอเป็นกำลังใจให้กับพวกเราทุกคน สภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 ได้มีมติให้มี การจัดสรรเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาในวงเงินเพิ่มเติม

สถานการณ์ ณ ช่วงเวลานี้ คือ ช่วงเวลาที่พวกเราทุกคนขาดแคลนมากที่สุด
และเป็นช่วงเวลาที่พวกเราทุกเสียสละมากที่สุด
เพื่อให้ผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ด้วยกัน มจธ.

ขอเป็นกำลังใจให้กับพวกเราทุกคน

สภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 ได้มีมติให้มีการจัดสรรเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาในวงเงินเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

  • ทุนช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน สำหรับภาคการศึกษาพิเศษ/2562 ถึง ภาคการศึกษาที่ 2/2563 จำนวน 122 ล้านบาท
    • ทุนการศึกษาเพื่อช่วยเหลือค่าเล่าเรียน จำนวน 62 ล้านบาท
    • ทุนช่วยเหลืออื่น ๆ : ทุนจ้างงานบัณฑิตที่จบใหม่ปีการศึกษา 2562 / ทุนช่วยเหลือในรูปแบบอื่น ๆ จำนวน 60 ล้านบาท
  • งบประมาณเพื่อเป็นทุนการศึกษา จำนวน 175 ล้านบาท
    • ทั้งนี้ มจธ. มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนการศึกษาในแต่ละปีอยู่แล้ว โดยในปีงบประมาณ 2563 มีการจัดสรรไว้ จำนวน 175 ล้านบาท

รวมวงเงินเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาในรูปแบบทุนการศึกษา
และทุนช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน 297 ล้านบาท

ค่าบำรุงการศึกษาและค่าธรรมเนียมการศึกษา
ภาคการศึกษาที่ 2/2562 ภาคการศึกษาพิเศษ/2562 ภาคการศึกษาที่ 1/2563

  • นักศึกษาระดับปริญญาตรี
    คืนเงินค่าลงทะเบียนเรียนรายวิชาฝึกงาน การฝึกสหกิจศึกษา และการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เต็มจำนวน เมื่อนักศึกษาจำเป็นต้องขอยกเลิกการลงทะเบียนวิชาฝึกงานฯ
  • นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
    คืนเงินค่าบำรุงการศึกษาพิเศษของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (เฉพาะส่วนที่มหาวิทยาลัยงดการจัดกิจกรรม/นักศึกษาไม่ได้รับบริการ)
  • นักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา
    ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการลงทะเบียนรักษาสภาพการเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษาที่ครบระยะเวลาการศึกษา (เฉพาะนักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาการศึกษา)

เราเชื่อมั่นว่าไม่มีศิษย์คนใด ที่จะไม่สำเร็จการศึกษา มจธ. เพราะปัญหาทางการเงิน

ฟีโบ้ มจธ. ส่งมอบ มดบริรักษ์ ชุดแรก ประจำการช่วยสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ดูแลผู้ป่วย COVID-19 ณ โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 ณ โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยมิตร ศรีธราคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และ นายแพทย์ไพโรจน์ บุญคงชื่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ รับมอบ “มดบริรักษ์” ชุดระบบหุ่นยนต์ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นประธานในการส่งมอบ พร้อมชมการสาธิตการทำงานของนวัตกรรมชุดระบบหุ่นยนต์ฯ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชิต เหล่าวัฒนา หัวหน้าโครงการมดบริรักษ์ และทีมพัฒนา

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานชื่อ “มดบริรักษ์” ให้กับหุ่นยนต์ FIBO AGAINST COVID-19: FAC ชุดระบบหุ่นยนต์บนแพลตฟอร์ม การควบคุมที่พัฒนาโดยสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับภาคเอกชน ด้วยความตั้งใจที่ต้องการนำหุ่นยนต์ให้ทีมแพทย์ พยาบาล ใช้สนับสนุนการตรวจรักษาผู้ป่วยที่พักรักษาตัวด้วยโรค COVID-19 และพบปัญหาด้านการสื่อสารและการเข้าให้การดูแล

ศ. นพ.ปิยมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวถึงว่า ทางคณะได้จัดตั้งศูนย์เพื่อทำการดูแลรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 โดยเฉพาะตึกสถาบันแห่งชาติรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ สืบเนื่องมาจากอัตราการระบาดของโรคในระยะเริ่มแรกที่มักเกิดขึ้นภายในโรงพยาบาล และส่งผลให้ผู้ป่วยเรื้อรังโรคอื่น ๆ ได้รับผลกระทบไปด้วย ดังนั้นการจัดพื้นที่จำเพาะจึงสำคัญอย่างยิ่งที่จะสามารถยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อเป็นวงกว้างได้ การได้รับการสนับสนุนระบบหุ่นยนต์มดบริรักษ์ถือเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์อย่างมหาศาล เนื่องจากสามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อและลดการใช้ทรัพยากรในการป้องกันลงได้ อีกทั้งระบบหุ่นยนต์ฯได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนงานทางการแพทย์ในบริบทต่าง ๆ ตามการใช้งาน

รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. กล่าวว่า มจธ. เข้าใจถึงปัญหาและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโรคCOVID-19 จึงพยายามที่จะใช้ความเชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นแนวหน้าในการรับมือกับการระบาดของโรคนี้อย่างเต็มกำลัง นำไปสู่การพัฒนาเป็นระบบหุ่นยนต์มดบริรักษ์นี้ขึ้นมา และขอขอบคุณทางโรงพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์ ที่ได้ร่วมมือกันทำงาน และในอนาคตได้มีการวางแผนที่จะนำพิมพ์เขียว หรือ Engineering Drawing ให้กับภาคเอกชนดำเนินการต่อเพื่อเป็นการกระจายความช่วยเหลือให้ได้มากยิ่งขึ้น

รศ. ดร.ชิต เหล่าวัฒนา หัวหน้าโครงการมดบริรักษ์ ได้อธิบายถึงภาพรวมระบบหุ่นยนต์มดบริรักษ์ ว่าหุ่นยนต์ในชุดระบบฯ มีด้วยกัน 3 รูปแบบ ประกอบด้วย

(1) CARVER เป็น Automated Guided Vehicle (AGV) ทำหน้าที่ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์ สำหรับผู้ป่วยในหอผู้ป่วย พร้อมฟังก์ชั่นฟอกอากาศและฆ่าเชื้อไวรัสตลอดการปฏิบัติงานผ่านอุปกรณ์ Hydroxyl Generator
(2) SOFA หุ่นยนต์ผู้ช่วยแพทย์ ซึ่งแพทย์สามารถควบคุมทางไกลจากห้องควบคุมส่วนกลางให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งเป้าหมาย สามารถแสดงข้อมูลการรักษาหรือผลการตรวจที่เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบของโรงพยาบาล และสามารถ video call สนทนาโต้ตอบกับผู้ป่วยได้แบบ real time และ
(3) Service Robot หุ่นยนต์บริการเฉพาะจุด สามารถเคลื่อนที่ได้อัตโนมัติโดยการควบคุมทางไกลจากห้องควบคุมส่วนกลาง ส่งยาและอาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ และผู้ป่วยสามารถพูดกับหุ่นยนต์เพื่อเรียกแพทย์หรือพยาบาลได้ผ่าน video call

โดยหุ่นยนต์ทั้ง 3 รูปแบบ จะจัดเก็บข้อมูลบนแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นโดยฟีโบ้
สำหรับโรงพยาบาลที่จะทำการติดตั้งชุดระบบหุ่นยนต์ฯ ในลำดับต่อไป ได้แก่ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า โรงพยาบาลปัตตานี และโรงพยาบาลในพื้นที่อีอีซี อีก 4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลพุทธโสธร โรงพยาบาลบางละมุง โรงพยาบาลชลบุรี และโรงพยาบาลระยอง (ในเดือนมิถุนายน) พร้อมกันนี้ ฟีโบ้จะเผยแพร่แบบพิมพ์เขียว Engineering Drawing ให้กับบริษัทเอกชน ในสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (Thai Automation and Robotics Association: TARA) เพื่อผลิตตามความต้องการของโรงพยาบาลต่าง ๆ ต่อไป

ในอนาคตฟีโบ้วางแผนนำเทคโนโลยี 5G มาเสริมความสามารถของชุดหุ่นยนต์โดยการพัฒนาแพลตฟอร์มบนคลาวด์ ทำการต่อยอดเพิ่มประสิทธิภาพ อาทิ พัฒนาระบบ Teleconference ระบบบันทึกภาพ ควบคุมบริหารจัดการหุ่นยนต์จากส่วนกลางบนคลาวน์ นอกจากนี้มีแผนพัฒนาระบบ IoT กับอุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณชีพ เพื่อใช้ในการบันทึกสัญญาณชีพ และจัดทำเป็นระบบวิเคราะห์ด้วย AI ซึ่งจะต่อโดยตรงกับ Genomics Platform ในพื้นที่อีอีซี

นายแพทย์ไพโรจน์ บุญคงชื่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า โรงพยาบาลได้นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยระบบหุ่นยนต์มดบริรักษ์ที่ได้รับมอบจาก มจธ. ทางโรงพยาบาลจะทำการนำมาทดลองใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งตัวบุคลากรและผู้ป่วย

มจธ.ขอเชิญชวนร่วมบริจาค สมทบทุนเพื่อพัฒนา จัดสร้าง และจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์เร่งด่วน

ร่วมบริจาคสมทบทุนเพื่อพัฒนา จัดสร้าง และจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์เร่งด่วน

การบริจาคเงิน
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา มจธ.
ชื่อบัญชี “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี”
เลขที่บัญชี: 237-2-00006-3
สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ 1 เท่า

กรุณาส่งหลักฐานการบริจาค และขอรับใบเสร็จได้ที่ อีเมล: move@kmutt.ac.th
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.และไลน์: 092-465-8936

อาทิ
▪ อุปกรณ์ที่เป็นความดันลบสำหรับควบคุมเชื้อขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในโรงพยาบาล เช่น เตียงผู้ป่วยหมวกครอบศีรษะ เป็นต้น
▪ อุปกรณ์ป้องกันระหว่างการทำหัตถการ
▪ อุปกรณ์ฆ่าเชื้อทำความสะอาดหน้ากากอนามัยเครื่องพ่นละออง HPVฆ่าเชื้อชุด PPE, N95
▪ ตู้สำหรับเป็นจุดตรวจคัดกรองผู้ป่วยก่อนเข้าโรงพยาบาล
▪ อุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น หากมีความต้องการโรงพยาบาลสนาม


สมทบทุนบริจาคเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับนักศึกษา
ที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19
ทำให้ครอบครัวไม่มีรายได้ และนักศึกษาไม่สามารถทำงานพิเศษในช่วงนี้ได้

การบริจาคเงิน
ธนาคารกรุงไทย สาขา ประชาอุทิศ บัญชีออมทรัพย์
ชื่อบัญชี “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี – เงินรับบริจาค”
เลขที่บัญชี: 465-0-28217-9
สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ 2 เท่า

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ กลุ่มงานช่วยเหลือทางการเงินแก่นักศึกษา โทร. 0-2470-8185กลุ่มงานการระดมทุน โทร. 0-2470-8112


ร่วมบริจาคเพื่อข้าวสาร อาหารแห้ง และวัตถุดิบในการปรุงอาหาร
สำหรับการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

การบริจาคเงิน
ธนาคารกรุงเทพ
ชื่อบัญชี “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี”
เลขที่บัญชี: 037-7-00008-8

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สำนักงานอำนวยการ โทร. 0-2470-8051, 081-303-6050


เราพร้อมร่วมมือผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน🇹🇭🇹🇭
“KMUTT believes in collective impact initiatives especially during the time of crisis.”

การใช้ PINCODE ตามที่ท่านลงทะเบียนขอรับ Unlimited Mobile Data Package

Information in English: https://bit.ly/e-net-kmutt

เงื่อนไขของ PINCODE

* ให้เก็บรักษา PINCODE ในที่ปลอดภัยและเป็นความลับ มจธ.ไม่สามารถออกให้ใหม่ได้หากสูญหายหรือถูกขโมย
* หากนักศึกษายังมีโปรโมชั่น Unlimited เดิมอยู่ อาจทำให้เติม PINCODE ของ มจธ. ไม่ได้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของนักศึกษา ควรรอให้โปรโมชั่น Unlimited เดิมที่มีอยู่หมดไปก่อน แล้วจึงกด PINCODE ของ มจธ. เพื่อรับสิทธิ์ภายหลัง
* PINCODE มีกำหนดวันหมดอายุ หากไม่มีการ Activate ภายในระบบเวลาที่กำหนด จะไม่สามารถใช้งานได้ โดยวันหมดอายุของ PINCODE คือ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563
* เมื่อนักศึกษากดใช้งาน PINCODE แล้วจะสามารถใช้งาน Internet แบบความเร็วไม่อั้นเต็มสปีด 4 Mbps เป็นระยะเวลา 90 วัน โดยนับวันที่เริ่มกดใช้งานเป็นวันที่ 1
* สำหรับ AIS นโยบายในการบริการขึ้นอยู่กับ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หากมีปัญหาการใช้งานให้ติดต่อทางบริษัทที่ 1175
* สำหรับ True นโยบายในการบริการขึ้นอยู่กับ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หากมีปัญหาการใช้งานให้ติดต่อทางบริษัทที่ 1242
* USSD คือ บริการข้อความสั้นแบบรับ-ส่งข้อมูลแบบโต้ตอบทันที (Interactive) เป็นบริการที่ผู้ใช้เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการกดรหัส USSD
ซิมเดิม AISซิมใหม่ AIS
• ให้นำ PINCODE ที่ได้รับ กด PINCODE ผ่านหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ AIS ที่ท่านใช้อยู่ เพื่อเริ่มใช้แพคเกจอินเทอร์เน็ต
• วิธีการกด USSD เพื่อใช้งาน PINCODE ที่ได้รับคือ กด *637*4*PINCODE 6 หลัก# แล้วโทรออก
• ให้นำ PINCODE ที่ได้รับไปรับซิมได้ฟรีที่ AIS Shop, Telewiz, AIS Buddy ทุกสาขาทั่วประเทศ AIS Shop, Telewiz สาขาที่เปิด/ปิดให้บริการ (ในช่วงสถานการณ์โควิด-19)
• ติดตั้งซิมใหม่ในโทรศัพท์ กด PINCODE ผ่านหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ AIS เพื่อเริ่มใช้แพคเกจอินเทอร์เน็ต
• วิธีการกด USSD เพื่อใช้งาน PINCODE ที่ได้รับคือ กด *637*4*PINCODE 6 หลัก# แล้วโทรออก

ซิมเดิม Trueซิมใหม่ True
• ให้นำ PIN ที่ได้รับ กด PINCODE ผ่านหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ TRUE เพื่อเริ่มใช้แพคเกจอินเทอร์เน็ต
• กด *744*33*PINCODES 10 หลัก# แล้วโทรออก
• ให้นำบัตรนักศึกษา ไปรับซิมสามัญได้ฟรีที่ 7-11, True Shop ทุกสาขาทั่วประเทศ
• ติดตั้งซิมใหม่ในโทรศัพท์ กด PINCODE ผ่านหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ TRUE เพื่อเริ่มใช้แพคเกจอินเทอร์เน็ต
• กด *744*33*PINCODES 10 หลัก# แล้วโทรออก
PINCODE มีกำหนดวันหมดอายุ หากไม่มีการ Activate ภายในระยะเวลาที่กำหนด จะไม่สามารถใช้งานได้ โดยวันหมดอายุของ PINCODE คือ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563

ประกาศฉบับที่ 12 ขยายเวลาปิดสถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นการชั่วคราว

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 แล้ว นั้น การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ยังคงปรากฏอยู่ แม้จะควบคุมไว้ได้ในระดับหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขไทย ความเข้าใจสถานการณ์ และที่สำคัญคือความร่วมมือจากภาคประชาชน แต่เนื่องจากโรคนี้ยังคงระบาดรุนแรงอยู่ในหลายประเทศและยังมีการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ตลอดจนการไปมาหาสู่ข้ามจังหวัดและการไม่นำพาต่อมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด อันแสดงให้เห็นถึงโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามมติ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563 จึงให้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีกคราวหนึ่ง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2563 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

เพื่อให้การดำเนินการของมหาวิทยาลัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับมาตการในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 ของทางราชการที่มีการกำหนดเพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 24 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2541 จึงออกประกาศมหาวิทยาลัยฉบับนี้ โดยให้

  1. ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 7 ขยายเวลาปิดสถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นการชั่วคราว และประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 9 ขยายเวลาปิดสถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นการชั่วคราว ยังคงมีผลบังคับใช้
  2. ให้เปลี่ยนแปลงข้อ 2 ของประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 9 ขยายเวลาปิดสถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นการชั่วคราว โดยขยายเวลาการปิดสถานที่ของมหาวิทยาลัยทุกพื้นที่การศึกษาเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2563
  3. ให้เปลี่ยนแปลงข้อ 3 ของประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 7 ขยายเวลาปิดสถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นการชั่วคราว ดังนี้
    • “ข้อ 3 ผู้ที่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยในช่วงวันดังกล่าวได้นั้น ให้จำกัดเฉพาะผู้ที่มีเหตุจำเป็น เช่น การรักษาความปลอดภัย การดำเนินการตามข้อผูกพัน พันธสัญญาที่มีการกำหนดระยะเวลา การดูแลโครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัย รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในห้องปฏิบัติการวิจัยที่มีความจำเป็นหรือที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 ผู้ที่ปฏิบัติงานวิจัยที่ต้องทำตามฤดูกาล ผู้ที่ปฏิบัติงานวิจัยเร่งด่วน เป็นต้น รวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้มาปฏิบัติภารกิจที่มีความจําเป็นและเร่งด่วน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าห้องปฏิบติการ หัวหน้าภาควิชา ผู้อำนวยการสำนักงาน คณบดี ผู้อำนวยการสำนัก สถาบัน หรือที่เทียบเท่าขึ้นไป
    • อนึ่ง หากมีภารกิจจำเป็นอื่นใดให้เสนออธิการบดีเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ โดยผู้ที่เข้ามามหาวิทยาลัยต้องปฏิบัติตนตามมาตรการการป้องกันและการเฝ้าระวังการระบาดที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อตนเอง และสังคม

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563