โครงการพัฒนาธุรกิจหลังวิกฤติ COVID-19 สู่ความยั่งยืน
สำหรับนักศึกษาเก่า/นักศึกษาปัจจุบัน มจธ. ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
- เรียนรู้ออนไลน์
- ปรึกษาเบื้องต้นกับผู้เชี่ยวชาญ
- Workshop แนวคิดธุรกิจหลังวิกฤติ
โครงการพัฒนาธุรกิจหลังวิกฤติ COVID-19 สู่ความยั่งยืน
สำหรับนักศึกษาเก่า/นักศึกษาปัจจุบัน มจธ. ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
BANGMOD MARKETPLACE
ขายสนุก ช้อปสนั่น จับมือกันพ้นวิกฤต
พื้นที่ชุมชนออนไลน์ เปิดให้กับประชาคม มจธ. เสนอสินค้าบริการที่หลากหลาย ไม่จำกัดประเภท อาทิ เสื้อผ้า อาหารและเครื่องดื่ม อุปกรณ์ก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย
เครื่องประดับ บริการบ้านพัก บริการด้านไอที บริการด้านสื่อโฆษณาและการตลาด
พึ่งพาและเกื้อกูลกันในช่วงภาวะวิกฤต
กลุ่มเฟชบุ๊ก: Bangmod Marketplace
ด้วยสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ที่กำลังแพร่ระบาดในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในประเทศไทยมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อยังไม่สูงมากนัก แต่ก็มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ทีมแพทย์ พยาบาล และโรงพยาบาลต้องรองรับจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ความวิตกกังวลของคนในสังคมเป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่สิ่งสำคัญคือ วิธีการที่สามารถช่วยลดความวิตกกังวล รวมทั้งสามารถคัดกรองเบื้องต้น ทำให้จำนวนผู้ที่ไม่เข้าข่าย หรือไม่มีอาการเข้าไปรับการตรวจลดลง ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อ หรือผู้ป่วยสามารถให้บริการได้อย่างรวดเร็ว และรักษาทรัพยากรทางการแพทย์ได้ทำหน้าที่ได้อย่างประสิทธิภาพสูงสุดในสถานการณ์ฉุกเฉิน
รศ. ดร.วีระศักดิ์ สุระเรืองชัย อาจารย์ประจำคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี ประธานหลักสูตรนาโน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และหัวหน้าทีมคลัสเตอร์วิจัยนวัตกรรมอนาคต (Futuristic Research Cluster of Thailand หรือ FREAK Lab ) ร่วมมือทีมโปรแกรมเมอร์ และทีมแพทย์ที่เป็นศิษย์เก่าของ Junior Science Talent Project (JSTP) หรือ โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน ได้ร่วมมือในการพัฒนา ‘COVID BOT’ ซึ่งเป็นแชตบอตตัวช่วยในการประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อ COVID-19 ผ่านหมอ (เสมือนจริง) ในระบบ AI ผ่านทาง https://www.facebook.com/covid19bot โดยหลักการในการประเมินความเสี่ยงและข้อแนะนำในแชตบอตเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักการทางการแพทย์
รศ. ดร.วีระศักดิ์ สุระเรืองชัย กล่าวว่า เราอยู่ในยุคดิจิทัลและผู้คนส่วนใหญ่ก็เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกรวดเร็ว การสอบถามอาการผ่านโทรศัพท์สายด่วนอย่างเดียวอาจจะไม่ตอบโจทย์ เพราะคนมักคิดไม่ออกว่าโทรไปแล้วจะเริ่มประโยคแรกว่าอะไร และจะคุยอย่างไรต่อ ผมและคณะทำงานจึงคิดเร่งสร้างเครื่องมือนี้ขึ้น เพื่อให้คนสามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวก ทั้งใช้ในแง่ของการสื่อสารและการให้ข้อมูลทางการแพทย์ที่ถูกต้อง ซึ่งในขณะนั้น (ช่วงต้นเดือนมีนาคม) ยังไม่มีเครื่องมือคัดกรองบนแพลทฟอร์มดิจิทัล หรือโซเชี่ยลมีเดียออกมา ลักษณะการทำงานของแชตบอตก็จะเหมือนกับการไปโรงพยาบาล พบหมอเพื่อประเมินความเสี่ยง เมื่อคุณคลิกตอบไปเรื่อยๆ ท้ายสุดก็จะมีผลประเมินออกมาให้คุณทราบทันที ในกรณีที่ขึ้นคำตอบว่า ‘คุณมีโอกาสเสี่ยง’ ก็จะมีคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมให้กับคุณ พร้อมข้อปฏิบัติตนระหว่างอยู่ในพื้นที่เฝ้าระวัง หลังจากนั้น 1 วันจะมีการแชตกลับมาติดตามอาการต่อ หรือหากไม่เป็นอะไร ก็จะมีคำแนะนำที่เข้าใจง่ายให้กับคุณ แต่หากคำตอบคือ ‘เสี่ยงมากๆ’ ก็ควรไปพบแพทย์ โดยแนะนำให้โทรไปที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งรถพยาบาลมารับ แทนที่จะเดินทางเข้าโรงพยาบาลไปด้วยตัวเอง เพราะนั่นคุณอาจจะกำลังเป็นผู้แพร่เชื้อให้กับคนอื่นทันที
รศ. ดร.วีระศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ‘COVID BOT’ จะสามารถช่วยได้อย่างดีในกรณีที่หากมีการแพร่ระบาดและผู้คนเริ่มแพนิก พร้อมใจกันไปโรงพยาบาล โดยที่หนึ่งในนั้นอาจจะมีผู้ติดเชื้อโดยที่ไม่รู้ตัวปะปนอยู่ คนนั้นจะเป็นผู้ส่งต่อเชื้อได้ และที่โรงพยาบาลก็จะกลายเป็นสถานที่แพร่เชื้อให้กับคนได้อีกจำนวนมาก ดังนั้นเครื่องมือนี้จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้อีกทางหนึ่ง เรามี ‘COVID BOT’ ในเวอร์ชันภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้มีผู้ใช้งานในวงกว้างออกไปกว่า 58 ประเทศ และมีหลายประเทศขอนำแชตบอตนี้ไปปรับใช้อีกด้วย
ทีมงานพัฒนา
• รศ.ดร.วีระศักดิ์ สุระเรืองชัย (FREAK Lab, Sensor Technology Lab – KMUTT, JSTP)
• นายณัฐชนน นินยวี (Codustry.com, FREAK Lab)
• นายพัทน์ ภัทรนุธาพร (Massachusetts Institute of Technology – MIT, ศิษย์เก่า JSTP)
• นพ.กฤษพร สัจจวรกุล (ศิษย์เก่า JSTP)
• พญ.แจ่มจันทร์ จันทร์แจ้ง (ศิษย์เก่า JSTP)
• นพ.พีรวัศ กาญจนเบญจา (ศิษย์เก่า JSTP)
• พญ.ฐิติกานต์ วังอาภากุล (ศิษย์เก่า JSTP)
• นพ.พร้อมพงศ์ โยธาราษฎร์ (ศิษย์เก่า JSTP)
• ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ (สถาบันการเรียนรู้ มจธ, ศิษย์เก่า JSTP)
• นายปองณัฐ เครือศรี (FREAK Lab, มจธ.)
การลงทะเบียนรอบพิเศษเพื่อรับ Unlimited Mobile Data Package (Maximum speed at 4 Mbps เป็นเวลา 90 วัน) เฉพาะนักศึกษา มจธ. ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนมาก่อน
ขอให้นักศึกษา พิจารณาข้อมูลให้เข้าใจก่อนการกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน
สำหรับ นศ. ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนในครั้งก่อนเท่านั้น
แบบฟอร์มการลงทะเบียน
https://bit.ly/kmutt-sim3
1 คน ได้รับสิทธิ์ 1 PINCODE เท่านั้น
เปิดให้ลงทะเบียนถึงวันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม 2563 เวลา 12.00 น.
**นักศึกษาต้อง login ผ่าน @mail.kmutt.ac.th**
Q: นักศึกษาจะได้รับ Unlimited Mobile Data Package อย่างไร
A: ก) ในกรณีที่ใช้ SIM เดิม มจธ. จะส่ง PINCODE ให้ผ่านทาง SMS ที่นักศึกษาลงทะเบียนไว้ เพื่อใช้ในการกดรหัสผ่านโค้ดมือถือ (USSD)
ข) ในกรณีที่ขอรับ SIM ใหม่ ให้นักศึกษาไปรับซิมได้ตามที่ระบุเมื่อกรอกแบบฟอร์ม จากนั้นให้ใช้ PINCODE ที่มจธ.ส่งให้ เพื่อใช้ในการกดรหัสผ่านโค้ดมือถือ (USSD)
ทั้งนี้คาดว่าจะส่ง PINCODE ให้ได้ หลังกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์หลังสรุปยอดการลงทะเบียน
ข้อมูล ณ วันที่ 9 เมษายน 2563
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นำโดยกลุ่มงานส่งเสริมกิจกรรมอย่างยั่งยืน ศูนย์ (EESH) ได้นำเมล็ดพืชผักสวนครัว และน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารจากการผลิตไบโอแก๊สของ มจธ. พร้อมกับมอบคู่มือการปลูกผักปลอดสารพิษไปมอบให้กับประชาชนในชุมชนหลังสวนธน เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 ซึ่งเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวกลุ่มนักศึกษา Green Heart ได้รับบริจาค มาจากประชาชนทั่วประเทศไทย ผ่านช่องทางสื่อและกลุ่มออนไลน์ต่างๆ เพื่อนำไปมอบให้กับ 15 ชุมชนรอบมหาวิทยาลัยนำไปปลูกพืชเป็นผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคและช่วยลดค่าใช้จ่ายในช่วงสถานการณ์ COVID-19
ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 2: มุ่งมั่นขจัดความหิวโหย เป้าหมายที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน และ เป้าหมายที่ 17: ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
มจธ. มอบอาหารแห้งแก่โรงเรียนในพื้นที่อำเภอสวนผึ้ง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จากการแพร่ระบาดของ COVID-19
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 โครงการระดมทุนจัดหาอาหารช่วยคนว่างงานจากสถานการณ์ COVID-19 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ลงพื้นที่จังหวัดราชบุรี เพื่อมอบอาหารแห้งให้แก่โรงเรียนใกล้เคียง มจธ.ราชบุรี ในพื้นที่อำเภอสวนผึ้ง จำนวน 4 โรงเรียน โดยได้เดินทางไปที่โรงเรียนธรรมศาสตร์-จุฬา 2 โรงเรียนวัดรางเสน่ห์นครจันทร์ โรงเรียนบ้านตะโกล่าง และโรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง 2 (บ้านบ่อหวี) โครงการดังกล่าว เป็นการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ปกครองของนักเรียน เป็นกำลังใจในการดำรงชีวิตเพื่อที่จะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันโดยไม่โดดเดี่ยว
ร่วมบริจาคสิ่งของที่มีสภาพดีและนำไปใช้ได้ อาทิ เสื้อผ้า รองเท้า ของใช้ในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า ของเล่น ตุ๊กตา หรืออาหารแห้ง เริ่มวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 | หรือ แลกเปลี่ยนแบ่งปันกัน ในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ เริ่มวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 โดยไม่จำกัดมูลค่าและชนิดสิ่งของที่นำมาแลกเปลี่ยน |
มจธ.ร่วมกันปันน้ำใจ สุขใจกับการเป็นผู้ให้และได้รับ สามารถบริจาค หรือแลกเปลี่ยน ได้ที่ บริเวณชั้น 1 อาคารจอดรถ ระหว่างเวลา 09.00 – 17.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
สถานการณ์ ณ ช่วงเวลานี้ คือ ช่วงเวลาที่พวกเราทุกคนขาดแคลนมากที่สุด
ขอเป็นกำลังใจให้กับพวกเราทุกคน
และเป็นช่วงเวลาที่พวกเราทุกเสียสละมากที่สุด
เพื่อให้ผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ด้วยกัน มจธ.
สภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 ได้มีมติให้มีการจัดสรรเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาในวงเงินเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
รวมวงเงินเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาในรูปแบบทุนการศึกษา
และทุนช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน 297 ล้านบาท
ค่าบำรุงการศึกษาและค่าธรรมเนียมการศึกษา
ภาคการศึกษาที่ 2/2562 ภาคการศึกษาพิเศษ/2562 ภาคการศึกษาที่ 1/2563
เราเชื่อมั่นว่าไม่มีศิษย์คนใด ที่จะไม่สำเร็จการศึกษา มจธ. เพราะปัญหาทางการเงิน
ร่วมบริจาคสมทบทุนเพื่อพัฒนา จัดสร้าง และจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์เร่งด่วน
การบริจาคเงิน
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา มจธ.
ชื่อบัญชี “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี”
เลขที่บัญชี: 237-2-00006-3
สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ 1 เท่า
กรุณาส่งหลักฐานการบริจาค และขอรับใบเสร็จได้ที่ อีเมล: move@kmutt.ac.th
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.และไลน์: 092-465-8936
อาทิ
▪ อุปกรณ์ที่เป็นความดันลบสำหรับควบคุมเชื้อขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในโรงพยาบาล เช่น เตียงผู้ป่วยหมวกครอบศีรษะ เป็นต้น
▪ อุปกรณ์ป้องกันระหว่างการทำหัตถการ
▪ อุปกรณ์ฆ่าเชื้อทำความสะอาดหน้ากากอนามัยเครื่องพ่นละออง HPVฆ่าเชื้อชุด PPE, N95
▪ ตู้สำหรับเป็นจุดตรวจคัดกรองผู้ป่วยก่อนเข้าโรงพยาบาล
▪ อุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น หากมีความต้องการโรงพยาบาลสนาม
สมทบทุนบริจาคเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับนักศึกษา
ที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19
ทำให้ครอบครัวไม่มีรายได้ และนักศึกษาไม่สามารถทำงานพิเศษในช่วงนี้ได้
การบริจาคเงิน
ธนาคารกรุงไทย สาขา ประชาอุทิศ บัญชีออมทรัพย์
ชื่อบัญชี “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี – เงินรับบริจาค”
เลขที่บัญชี: 465-0-28217-9
สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ 2 เท่า
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ กลุ่มงานช่วยเหลือทางการเงินแก่นักศึกษา โทร. 0-2470-8185กลุ่มงานการระดมทุน โทร. 0-2470-8112
ร่วมบริจาคเพื่อข้าวสาร อาหารแห้ง และวัตถุดิบในการปรุงอาหาร
สำหรับการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
การบริจาคเงิน
ธนาคารกรุงเทพ
ชื่อบัญชี “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี”
เลขที่บัญชี: 037-7-00008-8
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สำนักงานอำนวยการ โทร. 0-2470-8051, 081-303-6050
เราพร้อมร่วมมือผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน🇹🇭🇹🇭
“KMUTT believes in collective impact initiatives especially during the time of crisis.”