ประกาศเวลาเปิด-ปิดประตูเข้า-ออกมหาวิทยาลัย

เพื่อระบายรถบุคลากรและนักศึกษาที่ใช้เส้นทางบนถนนพุทธบูชา และลดปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณประตู 3 (ถนนพุทธบูชา) ดังนั้นมหาวิทยาลัยจะเริ่มเปิดให้ใช้บริการประตู 3 ตั้งแต่วันพุธที่ 5 สิงหาคม 2563 เฉพาะช่วงเวลาที่กำหนด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารอาคารและสถานที่ โทร. 0-2470-8207 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

เปิดให้บริการดาวน์โหลดป้ายประชาสัมพันธ์ตามอาคารในช่วงสถานการณ์โควิด-19

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด

ดังนั้นจึงได้จัดเตรียมป้ายสำหรับติดในสถานที่ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นแนวทางในการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และข้อแนะนำในการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกันเพื่อป้องการการแพร่ระบาด โดยทางหน่วยงานสามารถนำไปพิมพ์ หรือปรับใช้เพื่อติดตามจุดต่างๆ ตามความเหมาะสม

01 ELEVATORS ลิฟต์โดยสาร
• ผู้โดยสารได้สูงสุดครั้งละ 1 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้โดยสารได้สูงสุดครั้งละ 4 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้โดยสารได้สูงสุดครั้งละ 5 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้โดยสารได้สูงสุดครั้งละ 6 คน
JPG  Ι  PDF


02 STAIRWELL บันได
JPG  Ι  PDF


03 RESTROOM EXTERIOR
บริเวณภายนอกห้องสุขา
JPG  Ι  PDF


04 TEMPORARILY CLOSED
งดให้บริการชั่วคราว
JPG  Ι  PDF


05 MAX CAPACITY พื้นที่นี้รองรับ
ห้องเรียน ห้องประชุม
• ผู้ใช้งานสูงสุด 2 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 4 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 6 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 7 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 8 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 9 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 10 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 12 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 15 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 17 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 20 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 21 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 22 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 23 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 24 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 25 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 30 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 31 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 32 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 35 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 36 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 37 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 38 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 40 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 42 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 45 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 48 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 63 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 66 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 70 คน
JPG  Ι  PDF
• ผู้ใช้งานสูงสุด 180 คน
JPG  Ι  PDF


06 DRINKING WATER STATION จุดบริการน้ำดื่ม
JPG  Ι  PDF


ดาวน์โหลดป้ายประชาสัมพันธ์ตามอาคารในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทั้งหมดได้ที่
https://bit.ly/covid-19signage

ประกาศ สำนักบริหารอาคารและสถานที่ขอความร่วมมือจากหัวหน้าหน่วยงาน ลงทะเบียนเพื่ออนุมัติให้พนักงานที่ไม่มีบัตรการเข้าปฏิบัติงาน

ขอความร่วมมือหัวหน้างานลงทะเบียนอนุมัติให้แก่พนักงาน และลูกจ้างโครงการ รวมถึงผู้มาติดต่อหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย โดยกรอกแบบฟอร์มแสดงตนเข้าปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยช่วงมาตราการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19

แบบฟอร์มแสดงตนเข้าปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยช่วงเฝ้าระวังการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19

โดยท่านต้อง Login E-mail ที่เป็นของ Google (@mail.kmutt.ac.th )
คู่มือการกรอกแบบฟอร์ม

มจธ. เร่งพัฒนาระบบฆ่าเชื้อชุดอุปกรณ์ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ โดยมีแผนติดตั้งที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นแห่งแรก

ทีมอาจารย์และนักวิจัย มจธ. ได้ทำการออกแบบและทดสอบห้องฆ่าเชื้อที่ใช้ระบบพ่นไอระเหยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (HPV) ตามมาตรฐานที่รับรองโดย US.FDA พร้อมจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติการมาตรฐาน เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ ในช่วงระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ดร.ขจรวุฒิ อุ่นใจ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ผู้จัดการโครงการการพัฒนากระบวนการฆ่าเชื้อด้วยละอองฝอยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ สำหรับอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เปิดเผยว่า การรับมือกับวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่แพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลของบุคลากรทางการแพทย์ อันได้แก่ หน้ากากกรองอนุภาค N95 และชุดคลุมปฏิบัติการชนิด Coverall มีความสำคัญมากและจำเป็นต้องมีใช้อย่างต่อเนื่อง แต่จากการระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสดังกล่าวไปทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย ส่งผลให้อุปกรณ์เหล่านี้ขาดแคลนและมีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้งาน

ทาง มจธ. ทราบถึงปัญหานี้ จึงได้เร่งพัฒนาระบบฆ่าเชื้อชุดอุปกรณ์ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ ให้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยได้รับความไว้วางใจจากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเป็นแห่งแรกให้นำระบบที่พัฒนาไปติดตั้งใช้งานที่โรงพยาบาล จากปัญหาในสถานการณ์ที่จำเป็นและเร่งด่วน มจธ. ตั้งเป้าหมายในการทำงานเร็วที่สุด คือ ในระยะเวลา 3 สัปดาห์ จะต้องสามารถติดตั้งและทดสอบระบบจริงได้ที่โรงพยาบาล จึงทำการระดมทีมอาจารย์และนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขา อาทิเช่น วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมชีวภาพ จุลชีววิทยา และเทคโนโลยีวัสดุ ร่วมกันทำภารกิจที่ท้าทายนี้

โดยทีมงานเลือกใช้เทคโนโลยีการฆ่าเชื้อด้วยระบบพ่นไอระเหยของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide Vapor: HPV) เนื่องจากฆ่าเชื้อโรคได้ดีและเหมาะกับการฆ่าเชื้อจำนวนมาก ด้วยต้นทุนต่อการดำเนินงานต่อครั้งที่ต่ำ (ค่าสารเคมีต่ำกว่า 2 บาท/ชิ้น และสามารถฆ่าเชื้อหน้ากาก N95 มากกว่า 1,000 ชิ้นต่อครั้ง) ในขณะที่ไม่ลดประสิทธิภาพการกรองของหน้ากาก(แตกต่างจากการใช้รังสี UVC) ทั้งยังเป็นระบบที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration : FDA) ได้อนุญาตให้ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่สหรัฐอเมริกามาแล้ว โดยมีข้อมูลว่าหน้ากากที่ฆ่าเชื้อโดย HPV สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ถึง 20 ครั้ง

ห้องฆ่าเชื้อที่ออกแบบไว้เป็นห้องระบบความดันเป็นลบ (negative pressure) ขนาด 6×2.5×3.5 เมตร เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคสู่ภายนอก พื้นที่ในห้องประกอบด้วย 1.พื้นที่ฆ่าเชื้อขนาด 3×3 เมตร ซึ่งบรรจุเครื่องผลิตละออง HPV 2.พื้นที่สำหรับเปลี่ยนชุดของผู้ปฏิบัติงาน 3.พื้นที่ตั้งเครื่องควบคุมและจุดรับ-ส่งอุปกรณ์ที่นำมาฆ่าเชื้อ โดยจะอาศัยการปรับปรุงห้องภายในอาคารท่านผู้หญิง ประภาศรี กำลังเอก”(ตึกอุบัติเหตุ) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ซึ่งจะสามารถรองรับการฆ่าเชื้อหน้ากาก N95 สูงสุดต่อวันได้ถึง 2,000 ชิ้น หรือชุดคลุมฯ 150 ตัวต่อวัน ดร.ขจรวุฒิ กล่าวเสริมว่า แม้จะมีการรับรองและใช้เทคโนโลยีนี้ในต่างประเทศแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากความชื้นในอากาศที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อของระบบ HPV ได้ ทีมงานจึงได้ดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อของระบบ HPV ณ สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ (สรบ.) ของ มจธ. ในห้องทดสอบที่มีการความคุมความชื้น อุณหภูมิ และมีขนาดเดียวกับห้องฆ่าเชื้อที่ออกแบบไว้สำหรับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จากความร่วมมือของ บริษัท ซิม จำกัด เพื่อศึกษาปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ระยะเวลาการใช้งานและความเข้มข้นของ HPV ที่เหมาะสมที่สุดในการฆ่าเชื้อ

เพื่อคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของบุคลากรการแพทย์ ทีมงานมีแผนที่จะนำอุปกรณ์ป้องกันที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว เข้ารับการทดสอบประสิทธิภาพ ว่าอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อปลอดทั้งไวรัสและแบคทีเรีย รวมถึงมีการตรวจสอบโครงสร้างของเส้นใยของหน้ากาก N95 และประสิทธิภาพการกรองซ้ำ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหลังการฆ่าเชื้อแล้ว อุปกรณ์ไม่ได้รับความเสียหาย สามารถนำไปใช้ได้อย่างปลอดภัย นอกไปจากนี้ นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านยางพาราของ มจธ. ยังได้เริ่มดำเนินการพัฒนาเส้นยางสำหรับคล้องศีรษะและกาวพิเศษสำหรับยึดติดหน้ากาก N95 เพื่อเตรียมไว้สำรองทดแทนหากหน้ากาก N95 บางรุ่นซึ่งอาจมีการชำรุดหรือมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปหลังการฆ่าเชื้ออีกด้วย

ดร.ขจรวุฒิ เน้นย้ำว่าในส่วนของการดำเนินงานห้องฆ่าเชื้อที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ซึ่งเป็นสถานที่จริงนั้นจะต้องมีระบบการทำงานรัดกุม ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพทุกขั้นตอน ด้วยเหตุนี้ ทีมงานได้เตรียมจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติการมาตรฐาน (Standard Operating Principles: SOP) ของการบริหารจัดการอุปกรณ์แต่ละขั้นตอน ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางให้กับโรงพยาบาลด้วยเช่นกัน ครอบคลุมตั้งแต่ เริ่มการขนส่งอุปกรณ์จากผู้ใช้มาทำการฆ่าเชื้อ การฆ่าเชื้อในห้องฆ่าเชื้อ และการส่งกลับ โดยมีขั้นตอนระบุความเป็นเจ้าของเพื่อการส่งกลับที่ถูกต้องแม่นยำ เพราะอุปกรณ์ของแต่ละบุคคลนั้นมีขนาดเฉพาะตัว รวมถึงการทดสอบประสิทธิภาพ การระบุจำนวนครั้งของการฆ่าเชื้อซ้ำ และการส่งคืนหลังการฆ่าเชื้อที่มั่นใจได้ว่าอยู่ในสภาวะปลอดเชื้อแก่ผู้ใช้เดิมทุกครั้ง เป็นหัวใจสำคัญ ทั้งนี้ มจธ. พร้อมส่งมอบระบบฆ่าเชื้อและขั้นตอนการปฏิบัติการมาตรฐาน รวมถึงให้การอบรมบุคลากรของโรงพยาบาล เพื่อให้สามารถดำเนินการได้จริงภายในต้นเดือนพฤษภาคมนี้ ดังนั้นทีมงานทดสอบประสิทธิภาพของห้องฆ่าเชื้อกำลังตัวต้นแบบทำการทดสอบทุกวันที่ตึกสรบ. เขตพื้นที่การศึกษาบางขุนเทียน เพื่อให้สามารถใช้ระบบได้ทันกำหนด

โดยทีมคณะทำงานหลักประกอบด้วย ดร อรรณพ นพรัตน์ ผอ.สรบ ผศ ดร บุณยภัต สุภานิช อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คุณทนงค์ ฉายาวัฒนะ สรบ. คุณสุดารัตน์ ดุลสวัสดิ สรบ. นายอภิสิทธิ์ ไทยประยูร นศ.วิศวกรรมชีวภาพ และ นายอรรถพล แกมทอง นศ.วิศวกรรมชีวภาพ

หากหน่วยงานหรือโรงพยาบาลใด มีความสนใจในระบบฆ่าเชื้อชุดอุปกรณ์ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ ที่ มจธ. พัฒนาขึ้นนี้ สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ ดร.ขจรวุฒิ อุ่นใจ ผู้จัดการโครงการฯ โทร. 086972253

มจธ.ขอเชิญชวนร่วมบริจาค สมทบทุนเพื่อพัฒนา จัดสร้าง และจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์เร่งด่วน

ร่วมบริจาคสมทบทุนเพื่อพัฒนา จัดสร้าง และจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์เร่งด่วน

การบริจาคเงิน
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา มจธ.
ชื่อบัญชี “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี”
เลขที่บัญชี: 237-2-00006-3
สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ 1 เท่า

กรุณาส่งหลักฐานการบริจาค และขอรับใบเสร็จได้ที่ อีเมล: move@kmutt.ac.th
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.และไลน์: 092-465-8936

อาทิ
▪ อุปกรณ์ที่เป็นความดันลบสำหรับควบคุมเชื้อขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในโรงพยาบาล เช่น เตียงผู้ป่วยหมวกครอบศีรษะ เป็นต้น
▪ อุปกรณ์ป้องกันระหว่างการทำหัตถการ
▪ อุปกรณ์ฆ่าเชื้อทำความสะอาดหน้ากากอนามัยเครื่องพ่นละออง HPVฆ่าเชื้อชุด PPE, N95
▪ ตู้สำหรับเป็นจุดตรวจคัดกรองผู้ป่วยก่อนเข้าโรงพยาบาล
▪ อุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น หากมีความต้องการโรงพยาบาลสนาม


สมทบทุนบริจาคเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับนักศึกษา
ที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19
ทำให้ครอบครัวไม่มีรายได้ และนักศึกษาไม่สามารถทำงานพิเศษในช่วงนี้ได้

การบริจาคเงิน
ธนาคารกรุงไทย สาขา ประชาอุทิศ บัญชีออมทรัพย์
ชื่อบัญชี “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี – เงินรับบริจาค”
เลขที่บัญชี: 465-0-28217-9
สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ 2 เท่า

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ กลุ่มงานช่วยเหลือทางการเงินแก่นักศึกษา โทร. 0-2470-8185กลุ่มงานการระดมทุน โทร. 0-2470-8112


ร่วมบริจาคเพื่อข้าวสาร อาหารแห้ง และวัตถุดิบในการปรุงอาหาร
สำหรับการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

การบริจาคเงิน
ธนาคารกรุงเทพ
ชื่อบัญชี “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี”
เลขที่บัญชี: 037-7-00008-8

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สำนักงานอำนวยการ โทร. 0-2470-8051, 081-303-6050


เราพร้อมร่วมมือผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน🇹🇭🇹🇭
“KMUTT believes in collective impact initiatives especially during the time of crisis.”

ประกาศฉบับที่ 12 ขยายเวลาปิดสถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นการชั่วคราว

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 แล้ว นั้น การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ยังคงปรากฏอยู่ แม้จะควบคุมไว้ได้ในระดับหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขไทย ความเข้าใจสถานการณ์ และที่สำคัญคือความร่วมมือจากภาคประชาชน แต่เนื่องจากโรคนี้ยังคงระบาดรุนแรงอยู่ในหลายประเทศและยังมีการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ตลอดจนการไปมาหาสู่ข้ามจังหวัดและการไม่นำพาต่อมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด อันแสดงให้เห็นถึงโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามมติ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563 จึงให้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีกคราวหนึ่ง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2563 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

เพื่อให้การดำเนินการของมหาวิทยาลัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับมาตการในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 ของทางราชการที่มีการกำหนดเพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 24 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2541 จึงออกประกาศมหาวิทยาลัยฉบับนี้ โดยให้

  1. ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 7 ขยายเวลาปิดสถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นการชั่วคราว และประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 9 ขยายเวลาปิดสถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นการชั่วคราว ยังคงมีผลบังคับใช้
  2. ให้เปลี่ยนแปลงข้อ 2 ของประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 9 ขยายเวลาปิดสถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นการชั่วคราว โดยขยายเวลาการปิดสถานที่ของมหาวิทยาลัยทุกพื้นที่การศึกษาเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2563
  3. ให้เปลี่ยนแปลงข้อ 3 ของประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 7 ขยายเวลาปิดสถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นการชั่วคราว ดังนี้
    • “ข้อ 3 ผู้ที่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยในช่วงวันดังกล่าวได้นั้น ให้จำกัดเฉพาะผู้ที่มีเหตุจำเป็น เช่น การรักษาความปลอดภัย การดำเนินการตามข้อผูกพัน พันธสัญญาที่มีการกำหนดระยะเวลา การดูแลโครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัย รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในห้องปฏิบัติการวิจัยที่มีความจำเป็นหรือที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 ผู้ที่ปฏิบัติงานวิจัยที่ต้องทำตามฤดูกาล ผู้ที่ปฏิบัติงานวิจัยเร่งด่วน เป็นต้น รวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้มาปฏิบัติภารกิจที่มีความจําเป็นและเร่งด่วน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าห้องปฏิบติการ หัวหน้าภาควิชา ผู้อำนวยการสำนักงาน คณบดี ผู้อำนวยการสำนัก สถาบัน หรือที่เทียบเท่าขึ้นไป
    • อนึ่ง หากมีภารกิจจำเป็นอื่นใดให้เสนออธิการบดีเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ โดยผู้ที่เข้ามามหาวิทยาลัยต้องปฏิบัติตนตามมาตรการการป้องกันและการเฝ้าระวังการระบาดที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อตนเอง และสังคม

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563

โปรแกรม MATLAB Campus Wide License สำหรับนักศึกษาและบุคลากร ฟรี!

โปรแกรม MATLAB Campus Wide License สำหรับนักศึกษาและบุคลากร ดาวน์โหลดและติดตั้งฟรี สามารถใช้งานทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย แบบออนไลน์และออฟไลน์ เข้าถึงได้จากทุกเว็บเบราว์เซอร์และใช้พิมพ์งานวิจัยได้อย่างถูกลิขสิทธิ์

รายละเอียดการลงทะเบียน การดาวน์โหลด และการติดตั้งโปรแกรม MATLAB ดูได้ที่ https://www.cc.kmutt.ac.th/MATLAB.html

หมายเหตุ **ลงทะเบียนสมัครสมาชิก และดาวน์โหลด โดยใช้อีเมลของมหาวิทยาลัย (นักศึกษาใช้ @mail.kmutt.ac.th บุคลากรใช้ @kmutt.ac.th)

มจธ.มอบเจลแอลกอฮอล์ล้างมือให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

มจธ. มอบเจลแอลกอฮอล์ล้างมือให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน เพื่อส่งต่อไปให้อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) ของชุมชนนำไปใช้ขณะออกปฏิบัติหน้าที่

ประกาศขยายเวลาการปิดสถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นการชั่วคราว

อนุสนธิประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 27 มีนาคม 2563 เพื่อลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ขยายเป็นวงกว้าง ประกอบกับนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 – 30 เมษายน 2563 ได้มีข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 ให้ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรคเป็นการชั่วคราวเพิ่มเติม นั้น

เพื่อให้การดำเนินการของมหาวิทยาลัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับมาตการในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 ของทางราชการที่มีการกำหนดเพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 24 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2541 จึงออกประกาศมหาวิทยาลัยฉบับนี้ โดยให้

  1. ประกาศมหาวิทยาลัยฯ เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 7 ยังคงมีผลบังคับใช้
  2. ให้เปลี่ยนแปลง ข้อ 2 ของประกาศมหาวิทยาลัยฯ เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 7 โดยขยายเวลาการปิดสถานที่ของมหาวิทยาลัยทุกพื้นที่การศึกษาเป็นการชั่วคราว ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563