มดอาสากรีนฮาร์ท มจธ.จัดทำเครื่องกดเจลแอลกอฮอล์ชนิดเท้าเหยียบ มอบชุมชนรอบมหาวิทยาลัย

19 เมษายน 2563 กลุ่มมดอาสา มจธ. ส่งมอบเครื่องกดเจลแอลกอฮอล์ชนิดเท้าเหยียบให้กับตลาดใหม่ทุ่งครุ (ตลาด 61) จำนวน 3 ชุด เพื่อนำไปตั้งยังจุดบริการประชาชนในพื้นที่ที่มีประชาชนเข้าออกเป็นจำนวนมาก เพียงใช้เท้าเหยียบแทนการใช้มือในการกดขวดปั๊ม สะดวกแก่การใช้งานและช่วยลดการสัมผัสของบุคคล โดยกลุ่มมดอาสา มจธ. ตั้งเป้าดำเนินการติดตั้งเครื่องกดเจลแอลกอฮอล์ชนิดเท้าเหยียบให้กับชุมชนรอบข้างจำนวน 30 ชุด ให้กับชุมชน ตลาด โรงเรียน วัด มัสยิด และพื้นที่ที่มีชุมชนหนาแน่นรอบมหาวิทยาลัย ทั้งมจธ.บางมด และ มจธ.บางขุนเทียน

เครื่องกดเจลแอลกอฮอล์ชนิดเท้าเหยียบ จัดทำโดยกลุ่มนักศึกษากรีนฮาร์ท ร่วมกับศูนย์การจัดการด้านพลังงานสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และอาชีวอนามัย (EESH) และกลุ่มงานช่วยเหลือทางการเงินแก่นักศึกษา มจธ. ซึ่งกระจายกันจัดทำ ณ หอพักนักศึกษา และ หอพักบริเวณรอบมหาวิทยาลัยโดยใช้หลัก social distancing โดยได้รับการสนับสนุนสแตนเลสในการจัดทำจากนายรพีพงษ์ ธำรงค์คูสกุล บริษัท เอสดี แสตนเลส จำกัด รวมทั้งมีผู้สนับสนุนผ่านกลุ่มนักศึกษาซึ่งบริจาคโดยประชาชน และสมาคมนักศึกษาเก่า มจธ.ในพระบรมราชูปถัมภ์

นักศึกษาที่ค้างส่งหนังสือหรือมีค่าปรับกับสำนักหอสมุด ไม่สามารถตรวจสอบผลการเรียนในระบบ new acis ได้

📢ประกาศ
นักศึกษาที่ค้างส่งหนังสือหรือมีค่าปรับ
กับสำนักหอสมุด ไม่สามารถตรวจสอบ
ผลการเรียนในระบบ new acis ได้

โปรดติดต่อสำนักหอสมุด
ผ่านทาง line official>> @kmuttlibrary

หมายเหตุ สำนักหอสมุดส่งอีเมลแจ้งนักศึกษา เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 63

วิศวฯอุตสาหการ มจธ. แนะทองแดงมีสมบัติทำลายเชื้อโรคได้โดยธรรมชาติ

      อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) แนะทองแดงสามารถทำลายเชื้อโรคได้โดยธรรมชาติหวังช่วยลดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-ไนน์ทีน (Covid-19) หากนำมาประยุกต์ติดกับปุ่มลิฟต์โดยสาร เตรียมนำร่องที่ลิฟต์โดยสารภายในมจธ. และพร้อมให้คำแนะนำสำหรับหน่วยงานและผู้สนใจ

     ดร.ก้องเกียรติ ปุภรัตนพงษ์ หัวหน้าหน่วยวิจัยการผลิตโลหะขั้นสูง (RCAMP) และอาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมหล่อโลหะและโลหการ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า ในอดีตมีการนำทองแดงมาทำแก้วน้ำ ภาชนะใส่อาหาร ทำให้อาหารหรือน้ำนั้นไม่เสียง่าย โดยคนสมัยโบราณไม่ทราบว่าเกิดจากเหตุใด แต่ก็ใช้สืบทอดกันเรื่อยมา จนกระทั่งมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในต่างประเทศเมื่อปี 1973 นักวิจัยพบว่าทองแดงสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ซึ่งเป็นการค้นพบเชิงวิชาการครั้งแรกๆในโลก แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้ทองแดงทำภาชนะเพราะใช้ไปนานๆ จะเกิดสนิมสีเขียวทำให้ไม่สวย จึงหันไปใช้วัสดุอื่นมากกว่า เช่น ปุ่มลิฟต์ ลูกบิดประตู เครื่องใช้ต่างๆ นิยมใช้สแตนเลสเพราะสวยงามทำความสะอาดง่ายและเกิดสนิมได้ยากกว่า เป็นต้น ในสถานการณ์ปัจจุบันพบว่ามีการใช้ทองแดงกับอุปกรณ์การแพทย์และเครื่องใช้เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดเชื้อโรคจำนวนมากในต่างประเทศ ซึ่งการศึกษาประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ทีมงานเราจึงศึกษาเพิ่มเติมและพบว่ามีงานวิจัยรองรับว่าทองแดงสามารถฆ่าเชื้อโรคได้จริง

     ทีมอาจารย์และนักวิจัย มจธ. ประกอบด้วย รศ.ดร.เชาวลิต ลิ้มมณีวิจิตร, ดร.ศุภฤกษ์ บุญเทียร และ ดร.ก้องเกียรติ ปุภรัตนพงษ์ นำจึงนำแผ่นทองแดงมาประยุกต์เป็นปุ่มลิฟต์โดยสาร ซึ่งเป็นจุดที่จำเป็นต้องใช้นิ้วสัมผัสและจุดเสี่ยงในการแพร่ระบาดเชื้อโรค หากมีเชื้อโรคอยู่บนพื้นผิววัสดุทองแดงทั้งจากน้ำลาย หรือเชื้อโรคอื่นๆ ที่ติดอยู่ที่นิ้วมือที่สัมผัสกับปุ่มลิฟต์ เช่น แบคทีเรียหรือไวรัส จากงานวิจัยด้านชีววิทยาพบว่าอิออนของทองแดงจะเข้าไปทำลายลิพิด เมมเบรน (Lipid membrane) ของเชื้อโรคทำให้เชื้อโรคตายไปเองในที่สุด

     จากงานวิจัยปี 2015 ของประเทศอังกฤษ พบว่าไวรัสโคโรนาหากอยู่บนพื้นผิวทองแดง 90 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ไวรัสโคโรนาจะตายในเวลา 20 นาที ในขณะที่อยู่บนผิววัสดุอื่นไวรัสจะยังคงมีชีวิตอยู่ได้นานมาก

     โดยข้อมูลล่าสุดปี 2020 มีผลงานวิจัยยืนยันว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 หากอยู่บนพื้นผิวทองแดงจะตายภายใน 4 ชั่วโมง ในสภาพอากาศเย็น แต่ประเทศไทยอากาศร้อนไวรัสอาจจะตายเร็วกว่านั้น

     ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ ได้รับการสนับสนุนชุดปุ่มลิฟต์ทองแดงบริสุทธิ์ 99.9 เปอร์เซ็นต์ สำหรับติดปุ่มลิฟต์โดยสาร จำนวน 12 ชุด จาก ว่าที่ร้อยตรีปพนสรรค์ ผ่องใส ซึ่งเป็นศิษย์เก่าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลัดธัญญปพน) ติดตั้งภายในมหาวิทยาลัย หากหน่วยงานใดสนใจสามารถติดต่อได้ที่ 02-4709188 หรืออีเมล kongkiat.pup@gmail.com


KMUTT Production Engineers Hint Copper’s Natural Antiviral Properties

       Dr. Kongkiat Puparatanapong, Head of Research Center for Advanced Metal Processing (RCAMP) and lecturer at the Department of Production Engineering, Faculty of Engineering, KMUTT, together with the research team members including Assoc. Prof. Dr. Chaowalit Limmaneevichitr and Dr. Supareuk Boontien suggest using copper to fight back against Coronavirus disease or COVID-19.

        The outer structure or membrane of the coronavirus is like most viruses made of a lipid bilayer that houses proteins and enables the virus to attach itself to host cells. However, it can inactivate by the copper ions that contain natural antimicrobial and antiviral properties.

        Dr. Kongkiat Puparatanapong revealed that the research team conduct an additional study and discovered evidence confirmed the property to kill the virus. The research in 2015 and the recent medical study in 2020 show the time virus can be killed on the surface of over 90 percent copper.  Besides, pure copper foil can be used for this purpose as well. Therefore, the team studied to incorporate copper plate into elevator buttons, the touch surfaces easily contaminated and have a high risk of transmission. By doing so can reduce the risk of being infected.

        As a pilot project, 12 elevators at KMUTT installed the copper buttons provided by Acting Sub. Lt. Paponsan Pongsai (LUDTHUNYADAPON LIMITED PARTNERSHIP), who graduated from the Production Engineering Department. For more information or any inquiries please contact KMUTT at Tel. 02-4709188 or email: kongkiat.pup@gmail.com

ระเบียบว่าด้วย การศึกษา ภายใต้มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2563

สืบเนื่องจากการเกิดภาวะวิกฤตของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) โดยคณะรัฐมนตรี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมหาวิทยาลัยฯ ได้มีการออกประกาศ มาตรการ และการเฝ้าระวังต่างๆ และให้มีการปิดมหาวิทยาลัยเป็นการชั่วคราว ซึ่งส่งผลกระทบต่อรูปแบบของการจัดการเรียนการสอน การสอบ และการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ดังนั้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 (2) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2541 ประกอบกับมติสภาพมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในการประชุมครั้งที่ 249 วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 จึงให้ออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีว่าด้วย การศึกษา ภายใต้มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2563”
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 2/2562 ภาคการศึกษาพิเศษ/2562 และภาคการศึกษาที่ 1/2563 นับตั้งแต่วันที่ลงนามประกาศเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้การลงทะเบียนเรียน และการชำระค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา การฝึกงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี การประเมินผลการเรียนและสภาพนักศึกษา การขยายระยะเวลาของนักศึกษา การสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) ของนักศึกษาระดับปริญญาเอก และการนำเสนอผลงานวิชาการของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตามวิธีการที่กำหนดในระเบียบนี้ มีผลเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2562
ข้อ 4 การลงทะเบียนเรียน และการชำระค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา
ข้อ 5 การฝึกงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
ข้อ 6 การประเมินผลการเรียนและสภาพนักศึกษา
ข้อ 7 การขยายระยะเวลาของนักศึกษา
ข้อ 8 การสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) ของนักศึกษาระดับปริญญาเอก ให้ขยายระยะเวลาในภาคการศึกษาที่ 2/2562 ไปจนถึงวันสุดท้ายของภาคการศึกษาที่กำหนดไว้ในปฏิทินการศึกษาที่เปลี่ยนแปลง
ข้อ 9 การนำเสนอผลงานวิชาการของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ข้อ 10 ให้อธิการบดีเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

การใช้ PINCODE ตามที่ท่านลงทะเบียนขอรับ Unlimited Mobile Data Package

Information in English: https://bit.ly/e-net-kmutt

เงื่อนไขของ PINCODE

* ให้เก็บรักษา PINCODE ในที่ปลอดภัยและเป็นความลับ มจธ.ไม่สามารถออกให้ใหม่ได้หากสูญหายหรือถูกขโมย
* หากนักศึกษายังมีโปรโมชั่น Unlimited เดิมอยู่ อาจทำให้เติม PINCODE ของ มจธ. ไม่ได้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของนักศึกษา ควรรอให้โปรโมชั่น Unlimited เดิมที่มีอยู่หมดไปก่อน แล้วจึงกด PINCODE ของ มจธ. เพื่อรับสิทธิ์ภายหลัง
* PINCODE มีกำหนดวันหมดอายุ หากไม่มีการ Activate ภายในระบบเวลาที่กำหนด จะไม่สามารถใช้งานได้ โดยวันหมดอายุของ PINCODE คือ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563
* เมื่อนักศึกษากดใช้งาน PINCODE แล้วจะสามารถใช้งาน Internet แบบความเร็วไม่อั้นเต็มสปีด 4 Mbps เป็นระยะเวลา 90 วัน โดยนับวันที่เริ่มกดใช้งานเป็นวันที่ 1
* สำหรับ AIS นโยบายในการบริการขึ้นอยู่กับ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หากมีปัญหาการใช้งานให้ติดต่อทางบริษัทที่ 1175
* สำหรับ True นโยบายในการบริการขึ้นอยู่กับ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หากมีปัญหาการใช้งานให้ติดต่อทางบริษัทที่ 1242
* USSD คือ บริการข้อความสั้นแบบรับ-ส่งข้อมูลแบบโต้ตอบทันที (Interactive) เป็นบริการที่ผู้ใช้เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการกดรหัส USSD
ซิมเดิม AISซิมใหม่ AIS
• ให้นำ PINCODE ที่ได้รับ กด PINCODE ผ่านหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ AIS ที่ท่านใช้อยู่ เพื่อเริ่มใช้แพคเกจอินเทอร์เน็ต
• วิธีการกด USSD เพื่อใช้งาน PINCODE ที่ได้รับคือ กด *637*4*PINCODE 6 หลัก# แล้วโทรออก
• ให้นำ PINCODE ที่ได้รับไปรับซิมได้ฟรีที่ AIS Shop, Telewiz, AIS Buddy ทุกสาขาทั่วประเทศ AIS Shop, Telewiz สาขาที่เปิด/ปิดให้บริการ (ในช่วงสถานการณ์โควิด-19)
• ติดตั้งซิมใหม่ในโทรศัพท์ กด PINCODE ผ่านหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ AIS เพื่อเริ่มใช้แพคเกจอินเทอร์เน็ต
• วิธีการกด USSD เพื่อใช้งาน PINCODE ที่ได้รับคือ กด *637*4*PINCODE 6 หลัก# แล้วโทรออก

ซิมเดิม Trueซิมใหม่ True
• ให้นำ PIN ที่ได้รับ กด PINCODE ผ่านหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ TRUE เพื่อเริ่มใช้แพคเกจอินเทอร์เน็ต
• กด *744*33*PINCODES 10 หลัก# แล้วโทรออก
• ให้นำบัตรนักศึกษา ไปรับซิมสามัญได้ฟรีที่ 7-11, True Shop ทุกสาขาทั่วประเทศ
• ติดตั้งซิมใหม่ในโทรศัพท์ กด PINCODE ผ่านหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ TRUE เพื่อเริ่มใช้แพคเกจอินเทอร์เน็ต
• กด *744*33*PINCODES 10 หลัก# แล้วโทรออก
PINCODE มีกำหนดวันหมดอายุ หากไม่มีการ Activate ภายในระยะเวลาที่กำหนด จะไม่สามารถใช้งานได้ โดยวันหมดอายุของ PINCODE คือ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563

ประกาศฉบับที่ 12 ขยายเวลาปิดสถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นการชั่วคราว

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 แล้ว นั้น การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ยังคงปรากฏอยู่ แม้จะควบคุมไว้ได้ในระดับหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขไทย ความเข้าใจสถานการณ์ และที่สำคัญคือความร่วมมือจากภาคประชาชน แต่เนื่องจากโรคนี้ยังคงระบาดรุนแรงอยู่ในหลายประเทศและยังมีการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ตลอดจนการไปมาหาสู่ข้ามจังหวัดและการไม่นำพาต่อมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด อันแสดงให้เห็นถึงโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามมติ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563 จึงให้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีกคราวหนึ่ง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2563 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

เพื่อให้การดำเนินการของมหาวิทยาลัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับมาตการในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 ของทางราชการที่มีการกำหนดเพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 24 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2541 จึงออกประกาศมหาวิทยาลัยฉบับนี้ โดยให้

  1. ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 7 ขยายเวลาปิดสถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นการชั่วคราว และประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 9 ขยายเวลาปิดสถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นการชั่วคราว ยังคงมีผลบังคับใช้
  2. ให้เปลี่ยนแปลงข้อ 2 ของประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 9 ขยายเวลาปิดสถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นการชั่วคราว โดยขยายเวลาการปิดสถานที่ของมหาวิทยาลัยทุกพื้นที่การศึกษาเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2563
  3. ให้เปลี่ยนแปลงข้อ 3 ของประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 7 ขยายเวลาปิดสถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นการชั่วคราว ดังนี้
    • “ข้อ 3 ผู้ที่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยในช่วงวันดังกล่าวได้นั้น ให้จำกัดเฉพาะผู้ที่มีเหตุจำเป็น เช่น การรักษาความปลอดภัย การดำเนินการตามข้อผูกพัน พันธสัญญาที่มีการกำหนดระยะเวลา การดูแลโครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัย รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในห้องปฏิบัติการวิจัยที่มีความจำเป็นหรือที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 ผู้ที่ปฏิบัติงานวิจัยที่ต้องทำตามฤดูกาล ผู้ที่ปฏิบัติงานวิจัยเร่งด่วน เป็นต้น รวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้มาปฏิบัติภารกิจที่มีความจําเป็นและเร่งด่วน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าห้องปฏิบติการ หัวหน้าภาควิชา ผู้อำนวยการสำนักงาน คณบดี ผู้อำนวยการสำนัก สถาบัน หรือที่เทียบเท่าขึ้นไป
    • อนึ่ง หากมีภารกิจจำเป็นอื่นใดให้เสนออธิการบดีเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ โดยผู้ที่เข้ามามหาวิทยาลัยต้องปฏิบัติตนตามมาตรการการป้องกันและการเฝ้าระวังการระบาดที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อตนเอง และสังคม

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563

ประกาศเปลี่ยนแปลงปฏิทินการศึกษา ภาคการศึกษาที่ 2/2562, ภาคการศึกษาพิเศษ/2562 และภาคการศึกษาที่ 1/2563

ตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมหาวิทยาลัยฯ ได้มีการออกประกาศ มาตรการ และการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) และให้มีการปิดมหาวิทยาลัยฯ เป็นการชั่วคราว ซึ่งส่งผลกระทบต่อรูปแบบของการจัดการเรียน การสอน การสอบ และการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ดังนั้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์ดังกล่าว มหาวิทยาลัยฯ โดยความเห็นชอบจากสภาวิชาการ ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2563 จึงให้มีประกาศการเปลี่ยนแปลงปฏิทินการศึกษา ในภาคการศึกษาที่ 2/2562, ภาคการศึกษาพิเศษ/2562 และภาคการศึกษาที่ 1/2563 ภายใต้มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ดังนี้

ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน 2563

กรณีที่นักศึกษามีคำถาม สามารถสอบถามได้ที่ โทร 02-4708147-51 และ Line @registkmutt

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ “มดบริรักษ์”

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานชื่อ “มดบริรักษ์”
ให้กับหุ่นยนต์ FIBO AGAINST COVID-19: FACO
เพื่อสนับสนุนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19
ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) โดย สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) ร่วมกับภาคเอกชนได้คิดค้นและพัฒนาขึ้น

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ และเป็นสิริมงคลสูงสุด
แก่คณะผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และนักศึกษาเก่า มจธ. และภาคเอกชนที่ร่วมพัฒนา

มจธ. มุ่งมั่นบูรณาการความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี
เพื่อพัฒนางานที่มีคุณค่าและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติตลอดไป

โปรแกรม MATLAB Campus Wide License สำหรับนักศึกษาและบุคลากร ฟรี!

โปรแกรม MATLAB Campus Wide License สำหรับนักศึกษาและบุคลากร ดาวน์โหลดและติดตั้งฟรี สามารถใช้งานทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย แบบออนไลน์และออฟไลน์ เข้าถึงได้จากทุกเว็บเบราว์เซอร์และใช้พิมพ์งานวิจัยได้อย่างถูกลิขสิทธิ์

รายละเอียดการลงทะเบียน การดาวน์โหลด และการติดตั้งโปรแกรม MATLAB ดูได้ที่ https://www.cc.kmutt.ac.th/MATLAB.html

หมายเหตุ **ลงทะเบียนสมัครสมาชิก และดาวน์โหลด โดยใช้อีเมลของมหาวิทยาลัย (นักศึกษาใช้ @mail.kmutt.ac.th บุคลากรใช้ @kmutt.ac.th)